หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง เรื่องของดุลยภาพ
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 97 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




เรื่องของดุลยภาพ

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

         ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น หากกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ การกำหนดราคาสินค้า หรือบริการจะพิจารณาจากอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ที่เกิดขึ้นในตลาด โดยที่อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ซึ่งปกติแล้ว ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการในปริมาณที่มากขึ้น หากราคาสินค้า หรือบริการนั้นถูกลง ในทางกลับกันหากราคาสินค้า หรือบริการนั้นสูงขึ้น ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการนั้นในปริมาณที่ลดลง จึงพอสรุปได้ว่า ราคาสินค้า หรือบริการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการของผู้บริโภค โดยมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกันนั่นเอง

            ในขณะที่อุปทานนั้น หมายถึง ปริมาณความต้องการขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ซึ่งผู้ขายมักต้องการที่จะขายสินค้า หรือบริการในปริมาณที่มากขึ้น หากราคาสินค้า หรือบริการนั้นสูงน่าจูงใจ แต่ถ้าราคาสินค้า หรือบริการถูกลง ปริมาณความต้องการขายสินค้า หรือบริการของผู้ขายก็จะลดลงตาม ดังนั้น ราคาสินค้า หรือบริการจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในปริมาณความต้องการขายสินค้า หรือบริการของผู้ขาย เช่นเดียวกับอุปสงค์ แต่ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันแทน

            คราวนี้ลองมาดูกลไกการทำงานของอุปสงค์ และอุปทานในการกำหนดราคาสินค้า หรือบริการกันดูนะครับ สมมตินะครับสมมติว่า ณ ตลาดแห่งหนึ่ง มีผู้บริโภคกล้วยไข่จำนวนมาก และมีผู้ขายกล้วยไข่จำนวนมากเช่นเดียวกัน และสมมติต่อไปอีกว่า อุปสงค์ และอุปทานของกล้วยไข่ในตลาดนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

             ราคาต่อหวี                                  ปริมาณความต้องการซื้อ                                         ปริมาณความต้องการขาย

                5 บาท                                                 300 หวี                                                                         100 หวี                   

              10 บาท                                                 200 หวี                                                                         200 หวี

              15 บาท                                                 100 หวี                                                                         300 หวี

            มาดูที่ราคาหวีละ 5 บาทกันก่อนนะครับ ที่ราคานี้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อถึง 300 หวี แต่ในตลาดกลับมีความต้องการที่จะขายเพียง 100 หวี นั่นหมายความว่า สินค้าขาดตลาด (Shortage) ดังนั้นหากผู้บริโภคต้องการซื้อกล่วยไข่เพิ่มขึ้น ก็ต้องซื้อที่ราคาสูงขึ้นคือ 10 บาทต่อหวี เพื่อที่จะบริโภคกล้วยไข่ได้ตรงตามความต้องการ แต่ในทางกลับกัน กล้วยไข่ที่ราคาหวีละ 15 บาท ณ ราคานี้ผู้ขายมีความต้องการขายถึง 300 หวี แต่ผู้บริโภคกลับมีความต้องการซื้อเพียง 100 หวีเท่านั้น สินค้าจึงล้นตลาด (Excess) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ราคากล้วยไข่แพงไปในสายตาของผู้บริโภค ดังนั้นหาก ผู้ขายต้องการขายกล้วยไข่ในปริมาณที่มากขึ้น ก็ต้องทำการปรับราคาลง ทำให้ในที่สุดปริมาณสินค้าซึ่งทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายมาพบกัน ก็คือ ที่ 200 หวี ณ ราคา 10 บาทต่อหวีนั่นเอง โดยปริมาณที่ทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภค เท่ากับอุปทานของผู้ขายนี้ เราเรียกกันว่า ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) และราคาที่ทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภค เท่ากับอุปทานของผู้ขาย เราจะเรียกว่า ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) ครับ ซึ่งราคาดุลยภาพนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ ราคาที่ทั้งผู้บริโภค และผู้ขาย เต็มใจที่จะซื้อ หรือขายสินค้า หรือบริการในปริมาณที่เท่ากันพอดีนั่นเอง

            ถึงตรงนี้คงพอสรุปได้ว่า กรณีที่สินค้าขาดตลาด หรือสินค้าล้นตลาดนั้น ก็เป็นเพราะราคาไม่อยู่ในภาวะดุลยภาพนั่นเอง ดังนั้นกลไกการทำงานของอุปสงค์ และอุปทานจะผลักดันให้ราคาที่ไม่อยู่ในภาวะดุลยภาพนี้กลับเข้าสู่ดุลยภาพ โดยปรับปริมาณความต้องการซื้อ ให้เท่ากับปริมาณความต้องการขายโดยผ่านกลไกราคา (Price Mechanism) และทำให้เกิดราคาดุลยภาพขึ้นในที่สุด แต่ว่าราคาดุลยภาพนี้ก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในความเป็นจริงแล้วการกำหนดราคายังมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งไม่ได้คงที่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวของราคาในตลาด จึงทำให้กำหนดราคาดุลยภาพเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

            ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับทั้งปริมาณดุลยภาพ และราคาดุลยภาพนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดราคาสินค้า หรือบริการของตนต่อไปในอนาคตครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ระบบกุญแจ Immobilizer
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : สหโคเจน ลำพูน ธุรการบัญชี+, pme เซเว่น เรวดี พีซีจัดเรียงสินค้า เสรีสรรพสินค้าลำปาง เซ็ลทรัลสยาม jonesla ขับรถ่ คนลาว ไปทำงานต่างประเทศ ยุนิโคล่ งานสำหรับวุฒ ม.6 ร้านปัทมา จป.วิชาชีพ Safetyลำพูน หางาน กระบี่ max power japanese ญี่ปุ่น general foreman comekhoon ฝ่ายบุคคล จ.ชลบุรี 0897024811 ธุรการประสานงานรัชดา ฝ่ายผลิตแถวชลบุรี โลตัสช่างไฟฟ้า aff st งานธุรการหลักสี่ งานสปา นวด งานแม่บ้าน กรุงเทพ การบัญชีการเงิน บุคคล สระบุรี พนักงานผ่านผลิต ธุรการบัญชีบางกะปิ ครู ลพบุรี คลีนิคราชวิถี ซูมิโตโม พนังงานฝ่ายผลิตชลบุรี ปานนาค นีชดีซาย CMMนิคม mpt ธุรการ ท่าหลวง พ่นสี ชลบุรี หางานวุฒิม.2ชุมพร ม.3 สาทร วุฒิ ปวช. ช่างกลเขตบางพลี GSTEEL ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ เชียงใหม่ กฎหมาย u81ort2 เจ้าหน้าที่พัฒนาและวิจัย