หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง กลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์ (ตอนที่ 2)
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 29 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




กลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์ (ตอนที่ 2)

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ ประสานมิตร

หลังจากที่ได้รู้จักกับข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนกลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์อย่างคร่าวๆ กันบ้างแล้ว สำหรับในบทความตอนนี้ผมจะอธิบายเพิ่มเติมถึง วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย ตลอดจนขั้นตอนการวางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน และการปิดสถานะของคู่สัญญาครับ

เป็นที่ทราบกันดีว่า หากต้องการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ก็ต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายกับบริษัทนายหน้าที่เป็นสมาชิกของตลาดนั้นเสียก่อน แล้วจึงทำการส่งคำสั่งซื้อขายที่ต้องการผ่านบริษัทนายหน้านั้นไปยังระบบคอมพิวเตอร์จับคู่คำสั่งซื้อขายของตลาด โดยวิธีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทนายหน้าข้างต้น สามารถกระทำได้ดังนี้

1.        ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเอง ณ ห้องค้าของบริษัทนายหน้าที่ได้เปิดบัญชีไว้

2.        ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านทางโทรศัพท์ที่มีระบบบันทึกเสียง โดยเป็นการติดต่อกับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทนายหน้าที่ได้เปิดบัญชีไว้

3.        ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของบริษัทนายหน้าที่ได้เปิดบัญชีไว้ โดยต้องได้รับรหัสส่วนตัว (Password) สำหรับใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายนั้นจากบริษัทนายหน้าก่อน

ทีนี้ลองมาดูประเภทของคำสั่งซื้อขายกันบ้างครับ สำหรับประเภทแรก เป็นคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา และจำนวนหน่วยที่ต้องการซื้อขายอย่างเจาะจงชัดเจน หรือที่เรียกกันว่า “Limit Order” โดยผมขอยกตัวอย่างจากกรณีฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งซื้อขายกันในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือตลาด AFET ที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาดังต่อไปนี้ครับ

 

ตารางแสดงราคาเสนอซื้อ และเสนอขายฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มีระยะเวลาส่งมอบเดียวกัน

ราคาเสนอซื้อ (บาท/ กก.)

ราคาเสนอขาย (บาท/ กก.)

ราคาตกลงซื้อขาย (บาท/ กก.)

ราคา

จำนวนหน่วยการซื้อขาย

ราคา

จำนวนหน่วยการซื้อขาย

ราคา

จำนวนหน่วยการซื้อขาย

93.50

1

93.60

2

-

-

93.40

2

93.70

1

-

-

 

ทั้งนี้ ราคาซื้อขายของสินทรัพย์อ้างอิงชนิดเดียวกัน ที่มีระยะเวลาส่งมอบเดียวกันจะถูกระบบทำการจัดเรียงคิวไว้ โดยหากเป็นคำสั่งซื้อก็จะเรียงราคาเริ่มต้นจากราคาเสนอซื้อซึ่งสูงที่สุดก่อน ในขณะเดียวกันหากเป็นคำสั่งขายก็จะเรียงราคาเริ่มจากราคาเสนอขายซึ่งต่ำที่สุดแทน ทั้งนี้ เมื่อมีการจับคู่ราคาซื้อ และราคาขายที่เป็นราคาเดียวกันได้แล้ว ระบบก็จะดำเนินการจับคู่ตามจำนวนหน่วยการซื้อขายที่สามารถจับคู่ได้ต่อไป ทีนี้ขอสมมติว่า นายเก็บออม ส่งคำสั่งซื้อแบบ Limit Order เฉพาะเจาะจงที่ราคา 93.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 1 สัญญาเข้ามาในระบบ สังเกตได้ว่า จากตารางข้างต้นไม่มีราคาเสนอขายที่เป็นราคาเดียวกันกับที่นายเก็บออมเสนอซื้อเข้ามา ดังนั้น จึงยังไม่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขายเกิดขึ้นแต่อย่างใด โดยระบบจะทำการตั้งราคานี้ค้างไว้ในคิวจนกว่าจะจับคู่ได้ทั้งราคา และจำนวนสัญญาที่นายเก็บออมต้องการ

สำหรับคำสั่งซื้อขายประเภทที่สอง มีชื่อเรียกว่า “Market Order” เป็นคำสั่งที่เสนอราคาซื้อขาย ณ ราคาตลาด (Market Price) ที่ดีที่สุดในขณะนั้นทันที โดยจะทำการเสนอซื้อ ณ ราคาเสนอขายต่ำสุด หรือเสนอขาย ณ ราคาเสนอซื้อสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น จากตารางข้างต้น หากนายเก็บออม ส่งคำสั่งซื้อแบบ Market Order เข้ามาจำนวน 2 สัญญา ก็จะซื้อได้ที่ 93.60 บาทต่อกิโลกรัม ในทางกลับกัน หากนายเก็บออม ส่งคำสั่งขายแบบ Market Order เข้ามาจำนวน 1 สัญญา ก็จะขายได้ที่ 93.50 บาทต่อกิโลกรัมนั่นเอง นอกเหนือจากคำสั่งซื้อขายสองประเภทข้างต้น ยังสามารถใส่เงื่อนไขลงไปบนคำสั่งซื้อขายเพิ่มเติมได้อีกด้วย โดยหากใส่เงื่อนไขที่เรียกว่า “Fill and Kill (FAK)” หมายถึง การส่งคำสั่งซื้อขายตามราคาที่ระบุ แต่หากสามารถซื้อ หรือขายสัญญาได้เพียงบางส่วน ก็จะยกเลิกส่วนที่เหลือทันที นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขที่เรียกว่า “Fill or Kill (FOK)” ซึ่งหมายถึง การส่งคำสั่งซื้อขายตามราคาที่ระบุ แต่หากไม่สามารถซื้อ หรือขายสัญญาได้ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องการ ก็จะยกเลิกคำสั่งทันที

หลังจากที่การจับคู่คำสั่งซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องทำการส่งมอบเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin) ให้แก่บริษัทนายหน้าที่ตนได้เปิดบัญชีไว้ โดยจะมีการปรับมูลค่าวงเงินประกันตามราคาตลาดของสัญญาทุกสิ้นวันทำการ และหากมูลค่าของสัญญาตามราคาตลาดลดลงต่ำกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin) ที่กำหนดขึ้นเพื่อรักษาสภาพไว้ บริษัทนายหน้าก็จะทำการเรียกเก็บเงินเพิ่มในบัญชีวงเงินประกัน (Margin Call) เพื่อให้คุ้มกับมูลค่าที่ลดหายไปนั้น ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างกรณีของนายเก็บออมซึ่งได้ส่งคำสั่งเสนอซื้อฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มีกำหนดส่งมอบในเดือนมีนาคม ณ ราคา 93.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวนทั้งสิ้น 1 สัญญา (1 สัญญาเท่ากับ 5,000 กิโลกรัม)  คิดเป็นมูลค่า 467,500 บาท หากมีการจับคู่คำสั่งซื้อขายเกิดขึ้นในระหว่างวัน (สมมติว่าเป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์) นายเก็บออมไม่จำเป็นต้องชำระเงินเต็มจำนวน แต่ต้องวางเงินประกันขั้นต้นจำนวนหนึ่งซึ่งเท่ากับ 21,600 บาทต่อสัญญา หรือ 4.32 บาทต่อกิโลกรัมในบัญชีวงเงินประกันของตนที่เปิดไว้กับบริษัทนายหน้า โดยจะได้รับแจ้งถึงระดับวงเงินประกันขั้นต่ำสำหรับรักษาสภาพ ซึ่งทางตลาด AFET ได้กำหนดไว้ที่ 16,200 บาทต่อสัญญา หรือ 3.24 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้หากมูลค่าของสัญญาตามราคาตลาดลดลงต่ำกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น นายเก็บออมก็จะถูกเรียกเก็บเงินเพิ่ม ในทางกลับกัน หากมูลค่าของสัญญาตามราคาตลาดลดลง แต่ยังมีมูลค่าสูงกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำ นายเก็บออมก็ไม่จำเป็นต้องทำการใดๆ

 

ตาราง แสดงขั้นตอนในการวางเงินประกันของฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3

วันที่

ราคาซื้อขาย

(บาทต่อกิโลกรัม)

การเปลี่ยนแปลงของราคา (+/ -)

เงินประกันเพิ่มขึ้น หรือลดลง (+/ -)

การเรียกเงินประกันเพิ่ม

บัญชีวงเงินประกัน

(บาทต่อกิโลกรัม)

ส่งคำสั่งซื้อ

93.50

0

0

0

4.32

1 กุมภาพันธ์

93.80

+ 0.30

+ 0.30

0

4.62

2 กุมภาพันธ์

92.50

- 1.30

- 1.30

0

3.32

3 กุมภาพันธ์

92.00

- 0.50

- 0.50

1.50

4.32

 

จากตารางข้างต้น หากราคาที่ซื้อขาย (Settlement Price) ฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 เมื่อสิ้นสุดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เท่ากับ 93.80 บาทต่อกิโลกรัม นายเก็บออมจะมีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดเท่ากับ 0.30 บาทต่อกิโลกรัม โดยกำไรส่วนเพิ่มนี้จะถูกนำไปบวกเข้าในบัญชีวงเงินประกันของนายเก็บออม ทำให้ยอดเงินประกันเพิ่มขึ้นเป็น 4.62 บาทต่อกิโลกรัม และเนื่องจากบัญชีวงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินประกันขั้นต้นที่กำหนดไว้ ดังนั้นนายเก็บออม จึงสามารถที่จะถอนเงินส่วนที่เกินจำนวน 0.30 บาทต่อกิโลกรัมนี้ออกไปใช้ได้

ขอสมมติต่อไปว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ราคาที่ตกลงซื้อขายเมื่อสิ้นวันทำการลดลงเหลือ 92.50 บาทต่อกิโลกรัม เกิดการขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดเท่ากับ 1.30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งยอดขาดทุนนี้จะต้องนำไปหักออกจากบัญชีวงเงินประกัน ทำให้ยอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับ 3.32 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต้น แต่ก็ยังสูงกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำสำหรับรักษาสภาพตามที่กำหนดไว้ (3.24 บาทต่อกิโลกรัม) เมื่อเป็นดังนี้นายเก็บออมจึงไม่จำเป็นต้องนำเงินไปฝากเพิ่มแต่อย่างใด แต่หากวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ราคาซื้อขายเมื่อสิ้นวันทำการลดลงเป็น 92.00 บาทต่อกิโลกรัม นายเก็บออมจะขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดเท่ากับ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยยอดขาดทุนนี้จะถูกนำไปหักออกจากบัญชีวงเงินประกัน ส่งผลให้ยอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับ 2.82 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าทั้งระดับวงเงินประกันขั้นต้น และขั้นต่ำที่ต้องรักษาสภาพไว้ เมื่อเป็นดังนี้ นายเก็บออมจึงจำเป็นต้องนำเงินฝากเพิ่มเข้าไปในบัญชีวงเงินประจำเพื่อให้มียอดเงินในบัญชีกลับมาเท่ากับเงินประกันขั้นต้น (4.32 บาทต่อกิโลกรัม) ดังนั้น ในกรณีนี้นายเก็บออม จึงต้องฝากเงินเพิ่มอีกจำนวน 1.50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ หากนายเก็บออมถือครองสัญญาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็ต้องทำการปรับมูลค่ายอดเงินในบัญชีของตนเสมือนกับตัวอย่างข้างต้นทุกๆ วันทำการเช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากมีการถือครองจนถึงเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ ตลาด AFET ยังได้มีการกำหนดให้เปลี่ยนแปลงระดับของเงินประกันขั้นต้น และเงินประกันขั้นต่ำให้สูงขึ้นเป็น 141,400 บาท และ 106,300 บาทตามลำดับ

ถึงตรงนี้คงจะเห็นแล้วว่าคู่สัญญาของฟิวเจอร์สไม่เพียงแต่ได้รับการคุ้มครองจากสำนักหักบัญชีในการรับประกันการซื้อขาย แต่ยังสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการไม่ปฎิบัติตามสัญญาของคู่สัญญานั้นย่อมที่จะลดลง เพราะว่ามีการกำหนดบัญชีวงเงินประกันสำหรับคู่สัญญาไว้ด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ การกำหนดบัญชีวงเงินประกันดังกล่าวข้างต้นไม่เพียงแต่ผู้ซื้อเท่านั้นที่ต้องทำการปรับมูลค่าวงเงินประกันตามราคาตลาดของสัญญาทุกสิ้นวันทำการ ผู้ขายเองก็ต้องทำการปรับมูลค่าวงเงินประกันของตนด้วย โดยการปรับมูลค่าวงเงินประกันของผู้ขายจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการปรับมูลค่าวงเงินประกันของผู้ซื้อ

เมื่อเสร็จสิ้นจากกระบวนการส่งคำสั่งซื้อ หรือขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็มาถึงกรณีที่คู่สัญญาถือครองฟิวเจอร์ส จนครบกำหนดอายุ จะสามารถดำเนินการได้โดยใช้วิธีการหักล้างราคาซื้อ และขายระหว่างกัน แล้วชำระเฉพาะกำไร หรือขาดทุนซึ่งเป็นส่วนต่างที่เกิดขึ้นด้วยเงินสดแทน หรือที่เรียกกันว่า “Cash Settlement” โดยสามารถแสดงเป็นสมการสำหรับคำนวณหากำไร หรือขาดทุนได้ดังนี้

กรณีซื้อสัญญาฟิวเจอร์ส:

กำไร/ ขาดทุน = (ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเมื่อครบกำหนดอายุ – ราคาซื้อที่ระบุไว้ในสัญญา) * จำนวนหน่วยการซื้อขาย

กรณีขายสัญญาฟิวเจอร์ส:

กำไร/ ขาดทุน = (ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเมื่อครบกำหนดอายุ – ราคาขายที่ระบุไว้ในสัญญา) * จำนวนหน่วยการซื้อขาย

อย่างไรก็ตามการส่งมอบด้วยส่วนต่างเงินสดข้างต้น คู่สัญญาต้องขออนุมัติจากทางตลาด AFET ก่อน นอกจากนี้คู่สัญญาอาจจะใช้วิธีรับชำระราคา และส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงกันจริงๆ ไปให้แก่ผู้ซื้อ หรือรับมอบสินทรัพย์อ้างอิง พร้อมทั้งชำระราคาให้แก่ผู้ขายตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญานั้น หรือที่เรียกกันว่า “Physical Delivery” โดยที่วิธีนี้คู่สัญญาไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากทางตลาด หากแต่ทุกครั้งที่มีการส่งมอบรับมอบสินทรัพย์อ้างอิงกันนั้น ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ตลอดจนปริมาณที่ส่งมอบรับมอบก่อนเสมอ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าผู้ที่เข้ามาซื้อขายในตลาด AFET ไม่ได้มีแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น หากยังมีนักลงทุนที่สนใจต้องการเข้ามาลงทุนด้วย สำหรับกรณีหลังนี้ นักลงทุนอาจไม่ต้องการที่จะรอเพื่อส่งมอบรับมอบสินทรัพย์อ้างอิงกันจริงๆ ก็ได้ ตลาดจึงมีกลไกที่สามารถให้นักลงทุนทำการปิดฐานะของตน (Offset Position) ลงก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพันธะผูกพันจนถึงวันครบกำหนดอายุตามสัญญาแต่อย่างใด ทั้งนี้ การปิดฐานะลง ก็คือ การทำสัญญาในทิศทางตรงกันข้ามกับสัญญาเดิมที่ตนได้ถือครองอยู่ของสินทรัพย์อ้างอิงชนิดเดียวกัน มีระยะเวลาส่งมอบเดียวกัน และในปริมาณที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นายเก็บออมต้องการหักล้างสัญญาซื้อ (Offset Long Position) ที่ตนถือครองอยู่ ก็สามารถทำได้โดยขายคืนสัญญานั้นในตลาด ในทางกลับกัน หากมีนักลงทุนซึ่งถือครองสัญญาขายไว้อยู่ และต้องการหักล้างสัญญาขาย (Offset Short Position) ก็สามารถทำได้โดยซื้อคืนสัญญาในตลาดนั่นเอง

ถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจในกลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์กันแล้วนะครับ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะเข้ามาซื้อขายในตลาดล่วงหน้ากันจริงๆ ก็คือ ต้องทำการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจนเข้าใจเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์อย่างถ่องแท้เสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจมีโอกาสพ่ายแพ้ หรือขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์อย่างมหาศาลได้นั่นเอง ท้ายนี้ ผมขอให้ทุกท่านโชคดีกับการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ชนะใจเจ้านาย ได้ไม่ยาก
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : สมัครงาน วุฒิม.6จ.นครปฐม บัญชีเขตเทียนทะเล ผู้จัดการวิศวกรไฟฟ้า ธุรการบัญชีที่มีนบุรี ผู้จัดการทั่วไป สรีต เขตเตาปูน บิดโสตน Honda สมุทรปราการ จ.ลำปาง พนักงานธุรการ จ.สมุทรปราการ บริษัทโตโยต้าสงขลา ครู ศิลปะ เชียงใหม่ หางานในตรัง ด่วนที่สุด พนักงานขาย พัฒนาการ ลัลตรา 36204 พระราม3 สาทร พนักงานขาย bosch บางโฉลง งานนิติบุคคลหมู่บ้าน ชลบุรี plc cad ร้านคับเค้ก บริษัทชาบ วุฒิม.3 สาทร ธุรการ วุฒิปวช. acer computer ราชการเชียงใหม่ ณัฐวุฒิ สุรรณโสภา ผู้จัดการ การเงิน บัญชี PC โลตัส ฝ่ายผลิต โรงงาน รพ.ปวส แลปจุลสารจุลชีววิทยา งานเชียบุหรี่ กิ่งแก้ว-บางนาตราด ปริญาโท ตรีขึ้นไป gems gallery หางานตำแหน่งบุคคลแถวพระราม 2 3bb ภาษาญีปุ่น งาน M150 sales co sys วิศวกร freeland โรงแร ฝ่ายบุคคล ด่านขุนทด วรรณประไพ บ้านโป่งกุ๊ก