หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง จะทนอยู่กับอาการปวดได้ยังไง ???(ปวดหลังและปวดคอ)
เขียนโดย นุชนันท์ วรรณโกวิท

Rated: vote
by 25 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




จะทนอยู่กับอาการปวดได้ยังไง???

        ได้เขียนบทความเรื่อง ปวดหลัง-ปวดขาสัมพันธ์กันไปแล้ว ก็ว่าจะเขียนให้อ่านต่อในส่วนของความรู้และการปฎิบัติตัวในแต่ละกรณี ถ้าใครติดตามอยู่ขอให้รออีกนิดนะคะ เอาสาระสำคัญที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้มีอาการปวดหลัง-คอ ไปลองปฎิบัติกันก่อนนะคะ พอดีมีคนถามมาเยอะว่าจะออกกำลังกายได้หรือไม่ถ้ามีอาการปวดคอ ปวดหลัง-ปวดขา ควรทำตัวอย่างไรในแต่ละวันจึงจะช่วยไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น และจะทนอยู่กับมันได้อย่างไร ขอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้นะคะ
1. ผู้มีอาการปวดหลัง แบบไม่มีอาการปวดร้าวลงขา แต่อาจรู้สึกปวดแปล๊บอยู่กับที่ ปวดตื้อ ๆ ปวดตึง ๆ หน่วง ๆ หนัก ๆ อยู่เฉพาะที่แผ่นหลังเท่านั้น และได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์จนแน่ใจแล้วว่าไม่มีอาการของกระดูกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท สามารถนอน ยืน เดิน ขยับเขยื้อนร่างกายได้ตามสบาย ทั้งนี้ต้องภายหลังได้รับการดูแลเรื่องลดอาการอักเสบ และผ่านพ้นวันที่เริ่มบาดเจ็บไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ท่าไหนทำให้มีความเจ็บปวดกล้ามเนื้อมากขึ้นก็เลี่ยงเสีย ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพและเลือดลมไหลเวียนดีกว่าการนอนพักเฉย ๆ หรือไม่ขยับร่างกายเลย หากมีอาการปวดเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อยก็ไม่อันตราย ที่สำคัญเราต้องสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ว่าทำท่าอย่างไรแล้วอาการปวดเพิ่มมากขึ้น ก็ไม่ควรทำท่านั้นอีก เพื่อหลีกเลี่ยงการยืดแนวกล้ามเนื้อ อันจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้นได้ จำไว้ว่า อาการปวดหลัง-คอที่มีสาเหตุจากการทำงานหรือขยับผิดท่านั้น จะทุเลาเร็วขึ้นเมื่อได้รับการดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่เมื่อแรกเกิดเหตุ (ประคบด้วยความเย็น ทา/ทานยาลดการอักเสบ โดยหลีกเลี่ยงการถูนวดแรง ๆ,หยุดพักการใช้งาน) และขยับเขยื้อนร่างกายตามปกติเท่าที่จะทำได้ให้เร็วที่สุด (หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว) สรุปว่าในกรณีนี้ ขยับเร็วหายเร็ว  แต่อย่าลืมค้นคว้าเพิ่มเติมนิดนึงว่าท่าทาง หรือลักษณะกิจกรรมใดที่ควรหลีกเลี่ยง - ไม่ควรทำ  แม้ว่าจะค่อยยังชั่วหรือหายดีแล้ว
 
2. ผู้มีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการปวดร้าวไปที่อื่น อาการปวดหลังส่วนล่างอาจเกิดร่วมกับอาการปวดขา สะโพก ก้น น่อง ข้อเท้า ส่วนอาการปวดหลังส่วนบนก็อาจเกิดร่วมกับ อาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดแขน หัวไหล่ หรือข้อศอกได้ อาการปวดแบบนี้ อาจเกิดร่วมกัน หรือ เมื่อมีอาการปวดหลังมาก ๆ จึงจะมีอาการปวดที่อื่นตามมาก็ได้ ทั้งนี้เมื่อแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยด้วยการ X-Ray หรือ ทำ MRI แล้วพบ มีความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลัง อาจมีการกดเบียดที่เส้นประสาทจากตัวกระดูกเอง  จากหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือแม้แต่การมีก้อนเนื้องอกไปกดทับก็อาจเป็นสาเหตุได้ หากคุณทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดร้าวจากหลังไปยังที่ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ปฎิบัติตัวได้ถูกต้องมากขึ้น ในกรณีนี้คุณต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเองให้สม่ำเสมอ ว่าทำท่าทางใดแล้วจึงเกิดอาการปวดที่อื่นร่วมด้วย ไม่ควรทำท่าอย่างนั้นอีกเด็ดขาด หลีกเลี่ยงท่าทางต่าง ๆ ที่ทำให้ปวดหลังแม้จะเกิดอาการปวดเพียงนิดเดียวก็อาจส่งผลให้อาการโดยรวมแย่ลง สาเหตุของการปวดร้าวนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัยดังนั้นจึงขอสรุปการปฎิบัติตัวได้ทราบเป็นข้อ ๆ ตามสาเหตุดังนี้
       1. อาการปวดร้าวสืบเนื่องจากมีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกไปกดเบียด/ทับเส้นประสาท  ควรให้แพทย์อธิบายลักษณะการเคลื่อนว่าเป็นอย่างไร และรับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดเพื่อปฎิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่หมอนรองกระดูกมักเคลื่อนออกทางด้านหลังเยื้องออกทางด้านข้าง เนื่องจากแรงดันจากช่องท้องและ กระดูกสันหลังเพิ่มแรงดันให้เกิดภายในตัวหมอนรองกระดูก การที่เราก้มมาก ๆ ได้รับแรงกระแทกเกิดมาก ๆ หรือบ่อย ๆ เป็นเวลานาน/เฉียบพลัน จนทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังหลังช่วงเอว ทั้งชิ้นเคลื่อนตัว (ส่วนมากจะเคลื่อนไปทางด้านหน้าท้องมากกว่า) การมีแรงเค้นหรือการกดอัดต่อหมอนรองกระดูกมาก ๆ จะทำให้ของเหลวภายในไหลออกมาเมื่อไปอัดพอดีที่ช่องที่ปลายประสาทลอดออกมาทำให้เกิดอาการชาไปในส่วนต่าง ๆ ที่ปลายประสาทไปเลี้ยง ก็เรียกอาการลักษณะนี้ว่าหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท**ติดไว้อีกจะหารูปภาพมาให้ดูว่ามีของเหลววางตัวอย่างไรภายในหมอนรองกระดูกทั้งอันแล้วเวลาแตกมันมีของเหลวไหลออกมาอย่างไร** ในกรณีนี้ส่วนใหญ่มักต้องรักษาระดับหลังให้ตรง หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแรงกดอัด ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาล เนื่องจากอาจเกิดการกดทับที่รุนแรงขึ้นหากผู้ป่วยกลับบ้านไปทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไม่ถูกต้อง สำหรับคนที่ไม่อยู่โรงพยาบาล หรือแพทย์เห็นว่าไม่เป็นมาก ก็ไม่ควรชะล่าใจ สิ่งสำคัญที่ห้ามทำ/ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาดมีดังนี้
 
การยืน - พยายามรักษาระดับบ่าให้เสมอกันและยืนให้สมมาตรมากที่สุด ให้น้ำหนักตกลงที่เท้าทั้งสองข้าง เว้นเสียแต่ว่าการเอียงตัวไปด้านใดด้านหนึ่งจะช่วยลดอาการปวดร้าวลงได้ ก็ให้ทำได้ แต่ควรไปเอนหลังนอนพักจะดีกว่า  อย่าก้มเก็บของเมื่อยืนอยู่ ถ้าจำเป็นควรย่อเข่าและรักษาระดับหลังให้ตรง
 
การเดิน - ควรดูว่าพื้นเรียบดี การเดินในที่ ๆ เป็นหลุมเป็นบ่อ จะทำให้เกิดแรงกระแทกต่อหมอนรองกระดูกมากขึ้นและเกิดการไหลออกของ ๆ เหลวมากขึ้น ดังนั้น จึงควรเดินทางเรียบเสมอกันเท่านั้น เลี่ยงการขึ้นลงบันได เพราะอาจทำให้ปวดมากขึ้นเกิดการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกมากขึ้น
 
การนั่ง  - ห้ามนั่งส้วมซึม นั่งยอง ๆ หรือทุกท่าที่มีการงอตัวมาก ๆ ถ้าไม่ขัดสนเงินทองนักก็หาแผ่นรัดหลัง (Back Support) มาใช้สักอันจะได้ช่วยเป็นเสมือนเครื่องดามหลังให้เรา และทำให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น การนั่งรถนาน ๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้นได้ ไม่ควรนั่งรถระยะไกล ๆ
 
การนอน - ควรให้ความสำคัญกับท่านอนให้มากที่สุด และการเลือกที่นอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเช่นกัน เท่าที่ผ่านมาผู้ป่วยปวดหลังมักบอกว่าที่นอนที่บ้านยวบ นิ่มมาก เป็นหลุม นอนมานานกว่า10 ปียังไม่เคยเปลี่ยน จำไว้ว่ายิ่งนอนนานยิ่งควรเลือกที่นอนดี ๆ เหมาะกับเรา เพื่อหลังที่ดีของเราเอง การนอนในท่าที่ถูกต้องตลอดคืนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง จะทำให้เราไม่เมื่อย ไม่เพลีย ที่สำคัญไม่เป็นสาเหตุระยะยาวของโรคปวดหลัง ผู้ป่วยหลายคนต้องเปลี่ยนที่นอน หรือไม่ก็ต้องนอนกับพื้น เพื่อรักษาท่าทางของหลังที่ไม่โค้งงอจากการนอนตลอดคืน โดยสามารถนอนตะแคงเอาขาก่ายหมอนข้าง รักษาหลังให้ตรง หรือ นอนหงาย ใช้หมอนรองใต้เข่า 2 ข้าง ให้หลังอยู่ในลักษณะตรง ทดสอบได้โดยใช้มือสอดเข้าไปใต้หลังส่วนล่างถ้าวางมือได้แสดงว่าต้องใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้นอีก การนอนลักษณะนี้จะช่วยลดแรงดันที่กระดูกสันหลังกระทำต่อหมอนรองกระดูกให้เหลือน้อยที่สุด ที่นอนที่ดีนั้นไม่ควรนุ่มเกินไป และไม่ควรแข็งเกินไปจนนอนไม่สบาย ควรเลือกวัสดุที่รองรับน้ำหนักเราได้ดี คืนตัวได้ดี หากลองใช้มือกดดูที่นอนที่ดีควรคืนสภาพขึ้นมาเหมือนเดิมได้เร็วกว่าอันที่รองรับน้ำหนักไม่ดี เครื่องนอนที่สำคัญอีกชิ้นก็คือ หมอน ผู้ป่วยปวดคอ-ปวดหลัง ควรพิถีพิถันในการเลือกหมอน หมอนที่ถูกสุขลักษณะก็เช่นกันไม่ควรแข็งเกินหรือนิ่มเกินไป ควรรองรับน้ำหนักศรีษะเราได้ ไม่ใช่นอนลงไปแล้วทำให้คอแอ่น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดคอจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือคอเคล็ด หันหน้าไม่ได้ บางครั้งผ้าขนหนูม้วนพอดี ๆ ก็เป็นหมอนที่ดีได้เหมือนกัน แต่ตั้งฝึกกันหน่อยก่อนทำนอนจริงไม่งั้นอาจเจ็บได้เหมือนกัน
 
การออกกำลังกาย (กล่าวรวมถึงอาการปวดหลังและคอทั้งสองกรณี)
 
สำหรับผู้มีอาการปวดคอมาก ๆ ควรสังเกตุว่าตัวเองทำกิจกรรมใดมากเป็นพิเศษก่อนมีอาการปวดได้รับอุบัติเหตุที่คอหรือไม่ ควรได้รับการตรวจเบื้องต้นจากแพทย์ และทราบผลการถ่ายภาพรังสี(x-ray)ก่อน เพื่อที่จะได้ปฎิบัติตัวได้ถูก หากมีกระดูกเคลื่อน แตก ร้าว หรือมีกระดูกงอก ก็จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดรุนแรงขึ้น แต่ถ้าไม่มีความผิดปกติดังกล่าว ก็สามารถออกกำลังเบาๆ โดยเกร็งกล้ามเนื้อคอในทิศทางต่าง ๆ เช่น ก้มหน้า เอียงคอซ้าย - ขวา เงยหน้า หันซ้าย - ขวา เพิ่มแรงต้านโดยใช้มือตนเอง หรือ ทำท่าการกดศรีษะลงกับหมอนแล้วเกร็งค้างไว้ประมาณ 3-5 วินาที ต่อครั้ง ทำให้ได้ประมาณ 10-15 ครั้ง สำหรับแต่ละทิศทาง ไม่ควรมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นภายหลังการเกร็งคอในแต่ละครั้ง การออกกำลังในส่วนของคออาจดูไม่ยาก แต่ถ้าทำไม่ถูกก็อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นหากไม่แน่ใจ ว่าทำท่าต่าง ๆ ได้ถูกหรือไม่ ก็ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดก่อนกลับบ้านไปทำเองตามลำพัง 
สำหรับผู้ที่ปวดหลังช่วงบนมากๆริ่มได้ตั้งแต่ หายใจเข้าออกลีก ๆ สังเกตุว่ามีอาการปวดเพิ่มขึ้น หรือ ร้าวไปที่อื่น หรือไม่ ถ้าไม่มีอาการปวดเพิ่มก็ทำต่อไปสัก 10 ครั้ง พักสัก 5 นาที แล้วก็ทำอีก สลับกันไป แค่นี้ก็พอแล้ว ส่วนอื่น ๆ เช่น แขนก็ออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่แนะนำว่าควรทำในท่านอนและพลิกแพลงเอา หากไม่เจ็บมากนักและพ้นระยะอักเสบเฉียบพลันไปแล้วก็สามารถ ออกกำลังกายในน้ำได้ โดยเคลื่อนไหวแขนในท่าต่าง ๆ ที่ไม่เพิ่มแรงต้านจากน้ำ ถ้าไม่มีอาการปวดเพิ่มขึ้นจึงค่อยทำท่าต่าง ๆ แบบเพิ่มแรงต้านจากน้ำ
สำหรับผู้ปวดหลังช่วงล่าง หากพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้วก็สามารถออกกำลังกายในน้ำได้เช่นกันโดยการเดินในน้ำ เหมือนบนบกแต่ให้ทำช้า ๆ ในระดับน้ำที่สูงเหนือสะโพกสัก1 คืบ/ฝ่ามือ โดนไปกลับสัก 10 รอบ หรือ วัดเป็นเมตรก็ได้ เริ่มตั้งแต่ 100 -600 เมตร การออกกำลังกายในน้ำค่อนข้างปลอดภัยและมีแรงดันน้ำช่วยพยุงและเป็นแรงต้านที่เหมาะสมให้เราได้ อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายท่าต่าง ๆ ในน้ำจะยิ่งมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อมีนักกายภาพบำบัด หรือนักธาราบำบัดคอยดูแล
 
**ท่าทางในการออกกำลังหลัก ๆ ก็มีอยู่ไม่มาก แต่สามารถพลิกแพลงได้หลากหลายตามสภาพของผู้มีอาการแต่ละท่าน ท่าบางท่าที่บางคนทำได้ก็อาจไม่เหมาะสมสำหรับคนอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อนตัดสินใจเริ่มออกกำลังเอง**
 
  2. อาการปวดหลังร้าวไปส่วนอื่น ๆ จากการมีเนื้องอก/ก้อนเนื้อกดทับ การปฎิบัติตัวที่บ้านก็ทำได้เหมือนกรณีที่1 แต่ไม่ว่าจะขยับจัดท่าอย่างไรก็มักไม่ช่วยให้อาการปวดร้าวทุเลาลงได้ ส่วนใหญ่ถ้าเห็นว่ามีก้อนเนื้อหรือสิ่งกดทับที่ชัดเจนแพทย์จะให้อยู่โรงพยาบาลและทำการผ่าตัดหรือใช้วิธีที่เหมาะสมทำให้เนื้องอกที่กดทับนั้นหายไปเสียก่อน ภายหลังการจัดการกับสาเหตุของการกดทับ ผู้ป่วยในกรณีนี้อาจมีผลการรักษาดีกว่ากรณีแรกเสียอีก
 
     สรุปว่าการปฎิบัติตัวสำหรับผู้มีอาการปวดหลัง - คอก็มีประมาณนี้ แต่รายละเอียดปลีกย่อยสำหรับในแต่ละบุคคลอาจแตกต่าง กันเป็นราย ๆ ไป อย่างไรก็ดีควรปรึกษาแพทย์ และทำความเข้าใจกับโรคอย่างถ่องแท้เสียก่อน จึงค่อยมาพิจารณาปรับใช้วิธีที่เหมาะสม ทั้งนี้ควรพยายามไม่ใช้ยาหรือพึ่งยาน้อยที่สุด เพราะการใช้ยาแก้ปวดมากเกินโดยไม่จำเป็นทำให้เกิดผลร้ายต่อตับ ไต และ กระเพาะอาหาร-ลำไส้ได้  สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการปวดหลัง - คอ ก็ให้รีบรักษาให้ถูกวิธี และให้ปฎิบัติตัวให้ถูกต้อง อย่าให้เป็นเรื้อรัง เพราะจะทำให้หายยาก หรือเป็นมากจนหมดทางเยียวยา นำพาไปสู่สภาวะอัมพาตได้ ที่สำคัญอย่ากลัวที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับโรค และควรทำความเข้าใจกับโรคให้มาก เพื่อจะได้อยู่กับมันอย่างเป็นสุข หรือกำจัดมันไปจากชีวิตคุณได้อย่างน้อยเมื่อยังไม่ถึงวัยอันสมควร ในกรณีที่มีอาการปวดหลังมาจากการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน คุณก็ต้องรับการรักษาที่อวัยวะภายในนั้นจึงจะช่วยได้ หวังว่าผู้อ่านคงจะได้ความรู้และรับประโยชน์จากข้อเขียนนี้บ้าง ขอให้ทุกท่านที่อยู่กับอาการปวด มีกำลังใจสู้ต่อไปนะคะ!
 
**หากสนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติม
ติชม-แนะนำ เปิดเผยต่อสาธารณะได้เชิญที่ http://www.jobpub.com/editor/nwannakowit
**หากมีข้อซักถามเป็นส่วนตัวเชิญที่ [email protected]  



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ลูกน้องที่ไม่ต้องการ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : euutottw บ้านกล้วย นนทบุรี งาน ปตท. ผู้ช่วยแม่ครัว ชลบุรี ธุรการแถวบางนา สุขุมวิท บางพลี กระทรวงมหาดไทย B v พยาบาลโรงงาน ราชบุรี Synergy Global Network โรงแรมพัทยาสมัครเป็นกุ๊ก ย้หรแห แผนกผลิต natral health care tccld group data center พนักงานผลิต มีที่พักให้ วุฒิ ป.โทสระบุรี ฝ่ายบุคคล กรุงเทพ สำนักงานจัดหางานจั ผู้จัดการ จ.นนทบุรี ผักกางมุ้ง call center เกษตร Bay shore concepts สมัคงานแถวบางกะปิ บางพูด ถน ธุรการย่านราม2 Dr-Adams ครูพลศึกษา การเงิน-สะพานใหม่ รับส่งเด็กนักเรียน ธุระการแถวพระราม 3 พนักงานขายต่งจังหวัด c.b. ตำแหน่งงานว่างจังหวัดชลบุรี กรุงเทพกรีฑา ห้างเซนทรัส โรงงานที่เปิดรับแถวชลบุรี ธุรการ LP HY qc บางแค พนักงานฝ่ายผลิต ช่างไฟฟ้า พนักงาน ขับรถ บิ๊กซีบ้านบึง ชลบุรี งานพัทยา ่่programmer พรักงานธุรการ ในเชียงใหม่ งานธุระการที่ใกล้ลาดพล การตลาด จ.นนทบุรี จนท