หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ความรู้เรื่องกฎหมาย
เขียนโดย นางสาวกนกวรรณ เจนปรุ

Rated: vote
by 25 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ความรู้เรื่องกฎหมาย

                กฎหมาย คือ บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุก ในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหาย

 

ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม

1.       กฎหมาย  คือ  คำบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ

2.       กฎหมาย  คือ  คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามก็จะต้องถูก

  ลงโทษ

 

ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม่

1.       กฎหมาย คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลและพบเห็นได้ในทุกสังคม

2.       กฎหมาย คือ ระบบที่มีอำนาจโดยชอบธรรมซึ่งมีการรับรองไว้แล้ว

3.       กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์สูงสุดของสังคมและเป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์อื่น ๆ

4.       กฎหมาย คือ ระบบกฎเกณฑ์ที่มีการจัดทำ การตีความ และการใช้บังคับเป็นกิจจะลักษณะ ตลอดจนมี

วัตถุประสงค์ของโครงสร้างหลักเกณฑ์ เจ้าหน้าที่และกระบวนการอันคำนึงถึงความสงบ

เรียบร้อย และความคิดเรื่องความยุติธรรม

 

ลักษณะสำคัญของกฎหมาย

1.       กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์

หมายความว่า  ผู้บัญญัติกฎหมายต้องมีอำนาจในรัฐ   จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์

หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือรัฐสภาที่มีอำนาจเด็ดขาดที่จะออกกฎหมายมาบังคับได้    และรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องเป็นเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ไม่เป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของประเทศอื่นใด

2.       กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป

หมายความว่า  กฎหมายจะต้องใช้บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค

3.       กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป

หมายความว่า   เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายเรื่องใดฉบับใดแล้ว  กฎหมายนั้นก็จะใช้ได้ตลอดไป จะ

เก่าหรือล้าสมัยอย่างไรก็ใช้บังคับได้อยู่   จนกว่าจะได้มีการประกาศยกเลิก เช่น พระราชบัญญัติตามช้างรัตนโกสินทรศก 127 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่

 

 

4.       กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม

หมายความว่า  กฎหมายทุกฉบับประชาชนต้องปฏิบัติตาม  จะขัดกับผลประโยชน์ของตนอย่างไรหรือ
ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร ชายไทยอายุย่างเข้า 21 ปี ใน พ.. ใดต้องตรวจเข้ารับราชการทหาร เป็นต้น บุคคลที่ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติจะปฏิเสธไม่ได้

5.       กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

หมายความว่า ผู้กระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดต้องถูกลงโทษ เช่น กฎหมายกำหนดผู้มี

รายได้ต้องเสียภาษี ผู้นั้นต้องรับโทษปรับหรือถูกยึดทรัพย์สินมาขายหรือชำระค่าภาษี เป็นต้น

 

ที่มาของกฎหมาย

                1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามแบบพิธีและขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศให้ประชาชนทราบ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น กฎหมายของไทยส่วนใหญ่ที่ศาลหรือผู้ใช้นำมาปรับแก่คดีคือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ

                2. กฎหมายจารีตประเพณี คือ กฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนได้ประพฤติตามแบบอย่างกันมาเป็นเวลาช้านานโดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง และรัฐใช้ข้อปฏิบัติเหล่านี้เสมือนกฎหมายอย่างหนึ่ง โดยมีศาลยุติธรรมรับรองกฎหมายจารีตประเพณี

                3. หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป   ของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยศาลยุติธรรมเป็นผู้รับรองหลักกฎหมายว่ามีฐานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ได้

 

ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย

                ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี 3 ประเภทคือ

1.       กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ได้แก่ ราษฎรทั่วไปใน

ฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือกว่าราษฎร กฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

2.       กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ในฐานะเท่าเทียมกัน

กฎหมายเอกชนได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์

3.       กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐ

ต่อรัฐแบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ

3.1    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

3.2    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

3.3    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

 

 

ลำดับชั้นของกฎหมาย

 

1.       กฎหมายรัฐธรรมนูญ

คือ   กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐ

หรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย

2.       พระราชบัญญัติ (...)

คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญ

ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.. 2535 เป็นต้น

3.       ประมวลกฎหมาย

คือ     กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัติหรือตราขึ้นโดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่

เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่ วางหลักเกณฑ์ให้อยู่ในที่เดียวกันและมีข้อความเกี่ยวเนื่องติดต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต้น

                       ประมวลกฎหมายมีฐานะเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ         

4.       พระราชกำหนด (...)

คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้

กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น การประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ

5.       พระราชกฤษฎีกา (..)

คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้

ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 6.       กฎกระทรวง

คือ    กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอันเป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้

เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ กฎกระทรวงจึงเป็นกฎหมายบริวารที่กำหนดรายละเอียดของกฎหมายแม่บทอีกต่อหนึ่ง กฎกระทรวงจะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก กฎกระทรวงนั้นถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย คณะรัฐมนตรีเป็นอนุมัติกฎกระทรวง การประกาศใช้กฎกระทรวงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

7.       ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง

คือ    กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติราชการ

ภายในและการที่จะนำกฎหมายปลีกย่อยเหล่านี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าในกฎหมายไม่ได้กำหนดเช่นนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจว่าการจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ ซึ่งประกาศ ระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งเหล่านั้นก็เป็นกฎหมายได้เช่นกัน

8.       กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง

ได้แก่   ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา  ข้อบัญญัติจังหวัด  เทศบัญญัติ  และข้อบังคับ

สุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอันเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น

 

สรุปสาระสำคัญ

1.       ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มี 5 ประเภท

1.       กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์

2.       กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป

3.       กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป

4.       กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม

5.       กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

2.       ที่มาของกฎหมายไทย ได้แก่

1.       กฎหมายลายลักษณ์อักษร

2.       กฎหมายจารีตประเพณี

3.       กฎหมายทั่วไป

4.       ประเภทของกฎหมาย ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด

พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

เก็บความมาเล่า : ปลดล๊อควัฒนธรรมเพื่อบริหารคนอย่างราบรื่น
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : kfc โลตัส พระราม2 โรบินสัน หาดใหญ่ DLand นักข่าวภาคสนาม ยฟพะขะรทำ sales ตลิ่งชัน ดูแลคนแก่ ฝาง 55 yamazen ขับรถตู้ชลบุรี สมัครงานธุรการโทยประกันชีวิต บุคคลคิดค่าแรง พนักงานธุรการ/เลขานุการ ดูงานต่างประเทศ QCโรงงานนครรา่ชสีมา พัทยา มีที่พัก การเงิน ธุรการ นครปฐม ธุรการเชียงใหม่-ลำพูน yuetwwyu ปากน้ำ สำโรง บางนา ประสานงานประชุม มีนบุรีรามคำแหง รับสมัครงานพม่า พนักงานขายบ้านโป่ง ผ้ผู้จัดการลาดพร้าว ม.3งานร.พ. สมัครงานบริษัทยัสปาว สมุดสาคร ธนาคารการดงิน งานลาดหลุมแก้ว วุฒิปวส ไฟฟ้า สมุทรปราการ ผลิตวาโก้ งานบัณชี แหลมฉบัง หางานวุฒิ ม3สุขุมวิท71 บัญชี แหลมฉบัง ชลบุรี พระราม 3 ชงเหล้า .6 สมัครงานโลตัส ภาคใต้ วิวกร expoer หางานทำในชลบุรี ธุรการต่างประเทศ ครูเพชรบุรี ผู้จัดการฝ่ายCall Cente programmer กทม Real Estate Agent / Sales ธุรการโรงพยาบาล นครราชสีมา งานที่รับวุฒิ ม.3 สุพรรณบุรี บริหาร กรตลาด