หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง การปลูกกล้วย
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 34 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




กล้วยเป็นไม้ผลเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารคาวหวาน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ กล้วยตาก ท๊อปฟี่ กล้วยทอด กล้วยบวชชีกระป๋อง กล้วยในน้ำเชื่อมกระป๋อง เป็นต้น

ส่วนใบตองสดสามารถนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ศิลปต่าง ๆ ได้แก่ กระทง บายศรี ใบตองแห้งใช้ทำกระทงใส่อาหาร และใช้ห่อผลไม้ เพื่อให้มีผิวสวยงามและป้องกันการทำลายของแมลงก้านใบและกาบกล้วยแห้งใช้ทำเชือก กาบสดใช้สำหรับการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพ หัวปลี (ดอกกล้วยน้ำว้า) ยังใช้รับประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย สำหรับคุณค่าทางอาหาร กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ

เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำอีกทั้งปลูกแล้วดูแลรักษาง่ายให้ผลผลิตเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลักหรือแซมพืชอื่น ๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

สถานการณ์ผลิตและการตลาดกล้วย

1. สถานการณ์ผลิต กล้วยน้ำว้ามีการปลูกกันทั่วไปทั้งแถบหลังบ้านและเชิงการค้า ปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 732,000 ไร่ ผลผลิต 1,185,000 ตัน แหล่งปลูกได้แก่ เลย นครพนม หนองคาย ชุมพร ระนอง และนครราชสีมา

กล้วยหอม ส่วนใหญ่มีการปลูกเชิงการค้าแหล่งปลูกได้แก่ ชุมพร ระนอง สงขลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร ปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 53,560 ไร่ ผลผลิต 90,439 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,391 กิโลกรัม/ไร่

กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ปลูกเชิงการค้าเป็นส่วนใหญ่ แหล่งปลูกสำคัญ จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ชลบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช ปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 93,000 ไร่ ผลผลิต 150,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,140 กิโลกรัม/ไร่

2. สถานการณ์ตลาด การตลาดกล้วยส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งขายตลาดภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอม และกล้วยไข่

2.1 กล้วยน้ำว้า

ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดกล้วยสดเพื่อการบริโภคได้แก่ ตลาดท้องถิ่น ตลาดประจำจังหวัด และตลาดกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ ตลาด อตก. ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ฯลฯ ราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2537 กิโลกรัมละ 3.22 บาท

นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้ายังสามารถส่งโรงงานแปรรูปต่าง ๆ เช่น โรงงานทำกล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยทอด กล้วยฉาบ


กล้วยน้ำว้า

สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยกระป๋องในน้ำเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยผสมกับผลไม้อื่น (ฟรุ๊ทสลัด)

2.2 กล้วยหอมทอง

ตลาดภายในส่วนใหญ่เป็นกล้วยสดเพื่อการบริโภคผลสุก ตลาดนอกเป็นตลาดท้องถิ่น ตลาดประจำจังหวัด ตลาดกลาง ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ปากคลองตลาด ฯลฯ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2537 กิโลกรัมละ 9.30 บาท


กล้วยหอมค่อม

ส่วนตลาดส่งออก ปัจจุบันมีการผลิตกล้วยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และที่สหกรณ์การเกษตรละแม จังหวัดชุมพร ปริมาณที่ได้ส่งออกปี 2539 จำนวน 878 ตัน มูลค่า 18.5 ล้านบาท

2.3 กล้วยไข่

ตลาดภายในประเทศ ได้แก่ ตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดรับของกิโลเมตร 8 ถนนสายกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร ตลาดปาอ่าว ริมถนนสายเอเซียระหว่างนครสวรรค์-กำแพงเพชร ตลาดประจำจังหวัด และตลาดกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ ปากคลองตลาด ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท เป็นต้น ราคาที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2538 กิโลกรัมละ 4.27 บาท

ตลาดส่งออก ได้แก่ ตลาดฮ่องกง ตลาดญี่ปุ่น ตลาดไต้หวัน ปริมาณที่ส่งออกปี 2540 จำนวน 1,300 ตัน มูลค่า 8.32 ล้านบาท

ต้นทุนและผลตอบแทน
รายการ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยไข่
ต้นทุน (บาท)
1,800
3,500
3,423
รายได้/ไร่ (บาท)
6,000
17,500
13,470

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

กล้วยเป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศหนาวเย็น 2-3 เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง

ดิน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6 เป็นดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี

ความชื้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง 50-100 นิ้ว/ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชบประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้นของดินเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุกควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย

ลม พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออกเครือแล้ว

พันธุ์กล้วยที่ปลูกเป็นการค้า

1. กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถทนทานสภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ การดูแลรักษาง่าย การใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุก มีรสชาดหวาน เนื้อแน่น สีเหลืองอ่อน กล้วยน้ำว้าสามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้

   1.1 กล้วยน้ำว้าแดง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีแดง
   1.2 กล้วยน้ำว้าขาว สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง
   1.3 กล้วยน้ำว้าเหลือง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง
   1.4 กล้วยน้ำว้าค่อม เป็นกล้วยที่ลำต้นเตี้ยหรือแคระ

2. กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาดหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด

3. กล้วยหอมเขียว เป็นกล้วยที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายกล้วยหอมทอง แต่กล้วยหอมเขียวกาบใบชั้นในมีสีแดงสด ปลายผลมน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว เปลือกหนา เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ กล้วยหอมเขียวยังต้านทานโรคตายพรายได้ดี แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

4. กล้วยหอมค่อม เป็นกล้วยหอมอีกชนิดหนึ่งลำต้นเตี้ย หรือแคระ ผลมีลักษณะคล้ายกล้วยหอมเขียว เนื้อรสชาดดี จึงมีชื่อว่า กล้วยหอมเขียวเตี้ยอีกด้วย

5. กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลต เครือเล็ก ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่ สีเหลืองรสหวาน เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

6. กล้วยหักมุข เป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดปานกลาง ลำต้นมีสีเขียวนวล ผลโต เป็นเหลี่ยม สีเขียวนวล ปลายผลเรียว ผลเมื่อสุกสีเหลืองนวล เปลือกหนามีรอยแตกลายงาเนื้อฟู สีเหลืองเข้มเหมาะสำหรับนำมาทำกล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม


กล้วยหักมุข

7. กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนัก ผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสชาดหอมหวาน ใช้สำหรับรับประทานสุก หรือทำเป็นกล้วยตา เป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่ปลูกเป็นการค้ามากคือ จังหวัดชุมพร


กล้วยเล็บมือนาง

ฤดูกาลปลูกกล้วย

การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออกปลี จนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา

กล้วยที่กำหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ได้แก่

1. กล้วยไข่ ควรได้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกในราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

2. กล้วยหอม การปลูกกล้วยเป็นการค้าสำหรับตลาดภายในประเทศก็เช่นเดียวกันกับกล้วยไข่ เกษตรกรคาดหวังว่าจะเก็บเกี่ยวกล้วยขายในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ซึ่งจะทำให้ราคากล้วยสูงกว่าช่วงปกติ แต่สำหรับการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกนั้น ส่วนใหญ่จะทำการผลิตในลักษณะรวมกลุ่มใหญ่ เพื่อผลิตกล้วยส่งให้ตลาดผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตกล้วยหอมทองของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งการผลิตจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวตามที่ตลาดส่งออกต้องการ


 
การขยายพันธุ์

ในการผลิตกล้วยเป็นการค้านั้น นิยมทำการขยายพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก 3 วิธี ดังนี้

1. การขยายพันธุ์จากหน่อ หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว ได้แก่ หน่ออ่อน หน่อใบคาบ หน่อแก่ หน่อใบกล้า จะมีวิธีการดังนี้

     เตรียมอุปกรณ์ขุด ได้แก่ เสียมหรือชะแลงหน้ากว้างที่คมสำหรับขุดตัดแยกหน่อจากต้นแม่ และขณะเดียวกันก็สามารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออกด้วยมีดโต้ แล้วกลบดินไว้ตามเดิม

หน่อกล้วยไข่

2. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยนัก เพราะเป็นขบวนการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้าที่เกิดใหม่ มีวิธีการดังนี้

     ขุดเหง้ากล้วยที่ตัดเครือใบแล้วนำมาผ่าใบลงตามยาวเป็น 2 หรือมากกว่า 2 แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำการย้ายปลูกได้ต่อไป

3. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยมใช้วิธีนี้มาก เพราะในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมาก ๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาดในเวลาเดียวกันเป็นช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้าแบบแปลงใหญ่ ข้อดีกล้วยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้คือ กล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้องเสียเวลาในการเพาะปลูกยาวนานกว่าวิธีการแยกหน่อ

หน่อพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก

หน่อกล้วยที่เกิดจากต้นกล้วยต้นแม่สามารถจำแนกตามรูปร่างและลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. หน่ออ่อน เป็นหน่ออายุน้อย ขนาดเล็กมีเพียงใบเกล็ดอยู่เหนือผิวดิน ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก

หน่อชนิดต่าง ๆ

2. หน่อใบดาบ เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้า ใบเลี้ยงเล็กขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร มีเหง้าขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการแยกไปเพาะปลูก

3. หน่อแก่ เป็นหน่อที่เจริญมาจากหน่อใบดาบ ใบเริ่มแผ่กว้างขึ้น อายุประมาณ 5-8 เดือน มีเหง้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร เหง้าของหน่อแก่อาจมีตาที่สามารถเจริญเป็นหน่อใหม่ได้หลายหน่อ

4. หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือเหง้าที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ลักษณะใบแผ่กว้างตั้งแต่ยังมีอายุน้อย ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก

การเลือกหน่อกล้วยเพื่อการเพาะปลูก

1. ต้องเป็นหน่อที่เหง้าใหญ่สมบูรณ์ ความสูงของหน่อไม่มากเกินไป ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 75 เซนติเมตร
2. เป็นหน่อที่ได้จากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคตายพราย หรือมีแมลงเข้าทำลายโดยเฉพาะด้วงงวงเข้าทำลายมาก่อน
3. ส่วนเหง้าต้องไม่ถูกโรคแมลงทำลาย
4. เป็นแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งเกษตรกรได้มีการตรวจสอบประวัติของสวนแล้ว ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
5. กรณีเป็นหน่อที่มีวางจำหน่าย ต้องพิจารณาความสดใหม่เหง้าใหญ่ไม่บอบช้ำอีกด้วย

การใส่ปุ๋ย

เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากกล้วยตั้งตัวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบใส่ปุ๋ยให้แก่กล้วย เพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้น และการตกเครือที่มีคุณภาพ ชนิดปุ๋ยมีดังนี้

1. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเตรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัม/ต้น และหลังกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนออกปลี อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ต้น
2. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการหว่านลงดินปริมาณ 60 กรัม/ต้น แล้วให้น้ำทันที (การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตบ่อย และมากเกินไปจะทำให้ดินเป็นกรด และเป็นอันตรายต่อกล้วย)
3. ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา 500 กรัม/ต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
      - ครั้งแรกหลังตัดปลีแล้ว
      - ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน

การกำจัดวัชพืช

วัชพืชเป็นพืชที่มาแย่งดูดอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีผลทำให้กล้วยมีความเจริญเติบโตช้าลง บางชนิดอาจทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่อาศัยของโรคและแมลงบางชนิด เกษตรกรควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. วิธีกล ได้แก่ การถอน ดาย หรือถากด้วยจอบ ควรทำการกำจัดขณะที่วัชพืชมีต้นเล็ก ก่อนที่วัชพืชนั้นจะออกดอก ถ้าเป็นพืชที่มีดอก ต้องเก็บภาชนะที่ใส่เมล็ดวัชพืช ร่วงหล่นไปตามพื้นดิน มิฉะนั้นจะทำให้วัชพืชมีการระบาดและแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ควรเก็บวัชพืชออกมารวมกันแล้วทำการเผาหรือฝัง หากกองทิ้งไว้เฉย ๆ เมล็ดที่แห้งอาจถูกลมพัดพาไปงอกเป็นต้นใหม่ได้ต่อไป

2. วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซม เลือกพืชที่มีระบบรากตื้น และสามารถใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือพืชผักชนิดต่าง ๆ นอกจากจะช่วยลดปริมาณวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

3. ใช้วิธีคลุมดิน หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งใบกล้วยแล้ว เกษตรกรก็นิยมใช้ใบกล้วยช่วยคลุมหน้าดินไว้ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณวัชพืชลงได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินอีกด้วย

การตัดแต่งหน่อ

หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลายโดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว

การตัดแต่งใบและหน่อ

การออกปลี

เมื่อปลูกกล้วยไปประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบขึ้นชี้ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า "ใบธง" หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกให้เห็นชัด และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นและเล็กลง อีกทั้งขนาดแต่ละผลไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเรียกว่า "หวีตีนเต่า" ส่วนหวีที่ถัดจากหวีตีนเต่าลงมาก็จะมีขนาดเล็กมากเท่ากับก้านดอกในกาบปลีที่กำลังบานอยู่ ถ้าปล่อยให้หัวปลีบานต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นเพียงก้านดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกัน คล้ายหวีกล้วยขนาดจิ๋ว การบานของหัวปลีจะทำให้การพัฒนาขนาดของผลกล้วยช้าลง ส่งผลให้ผลกล้วยมีขนาดเล็ก ๆ ไม่โตเท่าที่ควร

กล้วยออกปลี

การตัดปลี

หลังจากกล้วยออกปลีมาแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเห็นผลกล้วยเล็กจำนวนมาก เป็นหวี ๆ อย่างชัดเจน โดยทุกหวีจะมีผลกล้วยขนาดเท่า ๆ กัน ยกเว้นหวีตีนเต่า และหวีต่อไปก็จะเป็นผลกล้วยขนาดเล็กมาก ๆ ให้ทำการตัดปลีออกหลังจากปลีบานต่อไปจากหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อไว้สำหรับมือจับปลายเครือ ขณะทำการตัดเครือกล้วยในช่วงเก็บเกี่ยว อีกทั้งสะดวกในการหยิบยกและแบกหาม

การตัดปลี

การห่อผล

หลังจากที่ได้ทำการตัดปลีกล้วยออกไปแล้ว ผลกล้วยก็จะเริ่มพัฒนาและขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในการผลิตกล้วยเป็นการค้าที่ต้องการให้ผิวกล้วยสวยงามปราศจากโรคแมลงทำลาย สีผิวนวลขึ้น และน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น ควรมีการห่อผล

การห่อผล

การค้ำกล้วย

ต้นกล้วยหลังจากตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่าย เมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจากหักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดำเนินการดังนี้

1. นำไม้รวกมาเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดินทั้ง 2 อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ 30 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่างไม้ทั้งสองไขว้กันเป็นลักษณะคีม แล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วย ประมาณ 30-50 เซนติเมตร

การค้ำกล้วย

นอกจากใช้ไม้รวกแล้ว เกษตรกรอาจใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เป็นไม้งามอยู่แล้วแทนก็ได้


 

การค้ำกล้วย

ต้นกล้วยหลังตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่าย เมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจากหักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดำเนินการดังนี้

การค้ำกล้วย

1. นำไม้รวกมาเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดินทั้ง 2 อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ 30 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่างไม้ทั้งสองไขว้กันเป็นลักษณะคีม แล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วยประมาณ 30-50 เซนติเมตร

นอกจากใช้ไม้รวกแล้ว เกษตรกรอาจใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เป็นไม้ง่ามอยู่แล้วแทนก็ได้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญ

โรคกล้วย

1. โรคตายพราย เกิดจากเชื้อรา มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง

โรคตายพราย

การป้องกันและกำจัด

1. โรคนี้เป็นมากกับกล้วยน้ำว้า และกล้วยหอมทอง ควรปลูกกล้วยไข่หรือกล้วยหักมุกแทน
2. ในพื้นที่ปลูกอย่าให้มีน้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้กล้วยเจริญได้ไม่เต็มที่ ทำให้อ่อนแอเป็นโรคง่าย โดยเฉพาะดินที่เป็นกรด จะต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลางเสียก่อน
3. ตัดทำลายต้นที่เป็นโรคด้วยการเผาทิ้ง
4. ใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุฟอสเฟตและโปแตสเซี่ยมสูง และไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
5. คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากแหล่งที่ไม่มีโรคนี้หรืออย่างน้อยจากกอที่ไม่เป็นโรค

2. โรคเหี่ยวของกล้วย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะพบอาการเหี่ยวบนใบอ่อน ๆ ของกล้วย และมีอาการหักตรงก้านใบ อาการเหี่ยวจะระบาดอย่างรวดเร็ว หน่อกล้วยที่กำลังจะแตกยอดมีสีดำ ยอดบิดและแคระแกร็นและจะตายในที่สุด แสดงอาการคล้ายโรคตายพราย แต่เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง พบบริเวณไส้กลางต้นและจะขยายไปยังกาบ ก้านใบ และไปยังเครือกล้วย ผล หน่อ ตา กล้วยจะเหลืองและตายในที่สุด ภายในจะพบเนื้อเยื่อเน่าตายเห็นเป็นช่องว่าง เมื่อตัดกล้วยอ่อนที่เป็นโรคแช่น้ำในน้ำ จะพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุเป็นน้ำขุ่น ๆ ไหลออกมาผลจะเน่าดำ

โรคเหี่ยว

การป้องกันและกำจัด ใช้หน่อกล้วยที่ไม่มีโรคทำพันธุ์ ระวังไม่ให้เกิดผลกับลำต้นกล้วย แช่หน่อกล้วยที่ถูกตัดแต่งในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนปลูก

3. โรคใบจุดของกล้วย เกิดจากเชื้อหลายชนิด แต่ละชนิดแสดงอาการบนใบแตกต่างกัน ดังนี้

3.1 ลักษณะอาการเป็นขีดสีน้ำตาลแดงสั้น ๆ ขนานไปกับเส้นใบ บางครั้งกระจายไปทั่วทั้งใบและขยายไปทางกว้าง ทำให้เกิดอาการใบจุด และแผลลามติดต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ โดยมากเกิดจากริมใบเข้าไป แผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม พบทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมากเป็นกับกล้วยน้ำว้า ทำให้จำนวนหวีน้อยลง ขนาดผลเล็กลง

การป้องกันและกำจัด ตัดใบกล้วยที่เป็นโรคนำไปเผาไฟทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีคอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์ ผสมสารจับใบฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน หรือใช้สารเคมีแมนโคเซบ หรือเบนโนมิลผสมไวท์ออยย์ฉีดพ่น

3.2 ลักษณะอาการใบจุดรูปไข่สีน้ำตาล มักเกิดกับกล้วยไข่ บนใบจะเห็นแผลมีลักษณะรูปไข่สีน้ำตาล ตรงกลางแผลสีน้ำตาลอ่อนปนเทาถัดเข้ามามีเส้นวงสีน้ำตาลเข้ม และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลอีกชั้นหนึ่ง การแผ่ขยายของแผลจะเป็นไปตามความยาวของเส้นใบ

การป้องกันและกำจัด ตัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลงแล้วเผาทำลายทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ หรือแคปแทน

3.3 ลักษณะอาการใบจุดกลมรี ทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ แผลมีสีน้ำตาล ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยบริเวณสีเหลือง ตรงกลางแผลมีส่วนสปอร์ของเชื้อราสีดำเกิดเรียงเป็นวงมักเป็นกับกล้วยน้ำว้า

โรคใบจุด

การป้องกันและกำจัด ให้ตัดใบกล้วยที่เหี่ยวแห้งคาต้นไปเผาไฟทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ

โรคยอดม้วน เกิดจากเชื้อไวรัส แมลงพาหะได้แก่ แมลงประเภทปากดูดทุกชนิด ได้แก่ เพลี้ยต่าง ๆ เชื้อโรคจะแพร่กระจายติดไป กับหน่อหรือส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ อาการที่พบคือ ในระยะแรก ๆ จะปรากฎรอยขีดสีเขียว และจุดเล็ก ๆ ตามเส้นใบ และก้านใบ ใบถัด ๆ ไปจะมีขนาดเล็กลง สีเหลือง ใบม้วนที่ปลาย เมื่อโรคนี้ระบาดมากขึ้น ต้นกล้วยจะแคระแกร็น ใบขึ้นรวมกันเป็นกระจุก ดอกและปลีของต้นที่เป็นโรคจะเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ เมื่อเกือบจะโผล่จะพองโตขึ้น บางคราวเมื่อโผล่ออกมาที่ยอด ทำให้ยอดปริ เครือเล็ก จนใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าต้นกล้วยเป็นโรคทุก ๆ หน่อที่เกิดมาก็จะเป็นโรคด้วย

การป้องกันและกำจัด ทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นที่เป็นโรคหรือกอที่สงสัยจะเป็นโรค โดยสังเกตจากอาการดังกล่าวข้างต้น

แมลงศัตรูกล้วย

แมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญ ได้แก่

1. ด้วงงวงไชเหง้า ด้วงชนิดนี้ในระยะที่เป็นหนอนทำความเสียหายแก่ต้นกล้วยมากที่สุด ตัวแก่ก็ทำความเสียหายเหมือนกันแต่น้อยกว่า ตัวหนอนเจาะกัดกินไชชอนอยู่ภายในเหง้ากล้วย ซึ่งโดยมากกินอยู่ใต้ระดับดินโคนต้น ซึ่งไม่สามารถมองเห็นการทำลายหรือร่องรอยได้ชัด การทำลายของหนอนทำให้ระบบการส่งน้ำ และอาหารจากพื้นดินขึ้นไปเลี้ยงลำต้นขาดตอนชะงักไป เมื่อเป็นมาก ๆ หรือแม้มีหนอนเพียง 5 ตัว ในเหง้าหนึ่ง ๆ เท่านั้น ก็สามารถไชชอน ทำให้กล้วยตายได้ พบการทำลายได้ทุกระยะ ตั้งแต่หน่อไปจนถึงต้นแก่ ภายหลังตัดเครือแล้ว ตัวหนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าเป็นดักแด้จนเป็นตัวแก่ จะออกมาอยู่นอกเหง้า แถวโคนต้นในระดับชิดผิวดิน หรือต่ำกว่าเล็กน้อย หรือรอผสมพันธุ์กันต่อไป

การป้องกันและกำจัด ทำความสะอาดสวน อย่าปล่อยให้รกรุงรัง โดยเฉพาะเศษชิ้นส่วนของลำต้นกล้วย กาบกล้วย ซึ่งเน่าเปื่อยชื้นแฉะแถวโคนต้น เป็นที่วางไข่ของตัวเมีย หรืออาจใช้วิธีตัดต้นกล้วยเป็นท่อน ๆ วางสุมเป็นจุด ๆ ในสวน เพื่อล่อให้แมลงมาวางไข่ ประมาณ 7 วันต่อครั้ง ให้เปิดตรวจดูในเวลากลางวัน ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ให้ทำลาย โดยการใช้สารฆ่าแมลง เช่น เฮ็พตาคลอร์ผสมตามสูตรที่ระบุในฉลากยาราดส่วนโคนต้นและบริเวณดินรอบโคนต้น สำหรับหน่อพันธุ์ควรเลือกหน่อที่แข็งแรงไม่มีโรคแมลงติดอยู่ และแช่ในน้ำยาดีลดริน 25% ในอัตราส่วนผสมคือ น้ำยา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน แล้วแช่หน่อพันธุ์ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปปลูก

2. ด้วงงวงเจาะต้น หรือด้วงงวงไชกาบกล้วย ด้วงชนิดนี้เป็นศัตรูที่มีการทำลายรุนแรงพอ ๆ กับด้วงงวงไชเหง้า ตัวหนอนจะไชทำลายต้นที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไปถึงประมาณกลางต้น โดยไชต้นเป็นรูแล้วชอนเข้าไปถึงไส้กลางต้น มองเห็นข้างนอกเป็นรอยรอบต้นพรุนไปทั่ว มักชอบทำลายต้นกล้วยที่โตแล้ว หรือใกล้จะออกปลี หรือกำลังตกเครืออยู่ จะทำให้เครือหักพับกลางต้นหรือเหี่ยวเฉายืนตาย ขนาดด้วงเจาะลำต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าด้วงงวงไชเหง้า

การป้องกันและกำจัด เช่นเดียวกับด้วงงวงไชเหง้า

3. หนอนม้วนใบ ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวสีน้ำตาลปนเทา บนหลังปีกมีสีเหลืองแต้ม 2-3 จุด โดยตัวหนอนจะกัดกินจากริมใบให้แหว่งเข้ามาเป็นทางยาว และม้วนใบซ่อนในตัวหลอดอยู่จนกระทั่งเข้าดักแด้ และมีแป้งขาว ๆ หุ้มตัวด้วย ถ้าถูกหนอนทำลายมาก ๆ จะทำให้ใบขาดวิ่นใช้ประโยชน์ไม่ได้

การป้องกันและกำจัด จับตัวหนอนมาทำลายทิ้ง หรือโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงจำพวกเมทธิลพาราไธออน เช่น พาราเทล ที.เอ็น.ฟอส พาราท็อป ฯลฯ โดยใช้ตามอัตราส่วนที่แจ้งในฉลากยา และควรผสมสารจับใบลงไปด้วย

4. ตั๊กแตนผี ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ ชอบกัดกินใบ

การป้องกันและกำจัด เช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ

5. หนอนกระทู้ ตัวแก่เป็นผีเสื้อขนาดเล็ก ปีกบนสีน้ำตาลปนเทา ส่วนปีกล่างสีขาว ตัวแก่หากินในเวลากลางคืน ส่วนตัวอ่อนชอบกัดกินใบตองอ่อนที่ยังไม่คลี่ หรือคลี่แล้วใหม่ ๆ โดยจะกัดเป็นรอยแหว่งไปตามขอบใบเป็นทาง รอยกัดแทะตรงกลางใบที่ทะลุเป็นรูกลม ๆ โตตามขนาดและวัยของหนอน ใบกล้วยที่ออกใหม่หรือหน่อกล้วยโคนต้นหรือหน่อที่นำมาปลูก พอใบใหม่แตกมักจะมีหนอนกระทู้ตัวเล็ก ๆ เข้ากัดกินใต้ผิว เมื่อตัวหนอนโตแล้วก็สามารถกินได้ทั้งบนใบและใต้ใบ

การป้องกันและกำจัด เช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ

6. หนอนร่าน ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางวันสีน้ำตาล มีพิษตามตัวถูกเข้าจะคัน กัดกินใบขณะที่กำลังจะกลายจากสีตองอ่อนเป็นสีเขียวแก่คือ มีสีจัดขึ้น นอกจากกินใบกล้วยแล้ว ยังพบว่ากินใบมะพร้าวด้วย

การป้องกันและกำจัด เช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ

7. มวนร่างแห ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบกล้วย ใบตองตรงที่มวนพวกนี้อาศัยอยู่สีจะไม่เขียวสดคือ จะค่อย ๆ เหี่ยวเหลืองซีด และที่สุดก็จะแห้งเป็นแห่ง ๆ ไป ถ้าตรวจดูด้านใต้ใบจะเห็นเป็นจุดดำ ๆ ทั่ว ๆ ไป นั่นคือมูลของมวนที่ถ่ายออกมาติดอยู่และมีคราบของตัวอ่อนลอกทิ้งไว้

การป้องกันและกำจัด เช่นเดียวกับด้วงงวงไชกาบกล้วย

8. ด้วงเต่าแดง ตัวแก่ชอบกัดกินใบตองยอดอ่อนที่ยังม้วนกลมอยู่ ยังไม่คลี่ออกหรือคลี่ออกแล้วใหม่ ๆ ยังไม่เขียว ทำให้ใบมีรอยตำหนิเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ทะลุล้างไม่ทะลุบ้างทั่วทั้งใบ เห็นได้ชัดเมื่อคลี่ออกตอนเขียวจัดแล้ว

การป้องกันและกำจัด รักษาความสะอาดสวนกล้วยอย่าให้เป็นที่อาศัยของแมลงได้ และอาจจะใช้เฮ็พตาคลอร์ผสมน้ำตามอัตราส่วนที่แจ้งไว้ในฉลากพ่นที่ยอดกล้วยหรือตามใบตองอ่อนให้ทั่ว

9. หนอนปลอก ตัวแก่เป็นผีเสื้อขนาดเล็กมีสีน้ำตาลอ่อนตัวอ่อนเป็นตัวหนอน ชอบกัดกินใบเอามาทำปลอกหุ้มตัว ตัวเล็กพบกัดกินบนใบตองโดยมีปลอกหุ้มตัวชี้ไปข้างหลัง พอโตขึ้นก็จะทำปลอกใหญ่ขึ้นมักเกาะห้อยท้ายปลอกลง ชอบกัดกินอยู่ใต้ใบ

การป้องกันและกำจัด เช่นเดียวกับด้วงเต่าแดง

10. แมลงวันผลไม้ หรือ "แมลงวันทอง" เป็นแมลงศัตรูของผลไม้ที่มีความสำคัญในการผลิตผลไม้เป็นการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพราะจะทำความเสียหายกับผลไม้ที่เริ่มสุก โดยตัวเมียชอบวางไข่กับผลกล้วยที่ใกล้สุก หรือมีรอยแผล หนอนที่ออกจากไข่จะไชชอนเนื้อกล้วย ให้เกิดความเสียหายเน่าเหม็น ช่วงเวลาที่ระบาดมากได้แก่ราว ๆ เดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี

การป้องกันและกำจัด ใช้เหยื่อพิษ ซึ่งเป็นสารเคมีผสมประกอบด้วยสารเคมีที่มีชื่อทางการค้าว่า "นาสิมาน" จำนวน 200 ซี.ซี. ผสมกับมาลา-ไธออน 83% จำนวน 70 ซี.ซี. และน้ำ 5 ลิตร อาจผสมสารจับใบเล็กน้อยฉีดพ่นในช่วงเช้า ด้านที่มีร่มเงา และฉีดพ่นที่ใบแก่ ห้ามฉีดพ่นที่ใบอ่อนและยอดอ่อน ให้ฉีดพ่นต้นละ 50-100 ซี.ซี.

ข้อแนะนำเพิ่มเติม ในการใช้เหยื่อพิษนี้ ควรมีการสำรวจปริมาณการระบาดของแมลงวันทองในสวนเสียก่อน โดยใช้กับดักใส่สารล่อ เมทธิล ยูจินอล (methyl eugenol) แล้วตรวจนับทุก ๆ 7 วัน ถ้าพบปริมาณแมลงวันทองประมาณ 10 ตัวต่อกับดัก 1 อัน ให้ฉีดพ่นเหยื่อพิษ (นาสิมาน + มาลาไธออน + น้ำ) 7 วันต่อครั้ง แต่ถ้าพบปริมาณแมลงวันทองมากกว่านี้ให้ฉีดพ่นทุก ๆ 4-5 วัน ในฤดูฝนควรผสมสารจับใบลงไปด้วย จำนวน 5-10 ซี.ซี.

นอกจากนี้ยังมีพืชที่แมลงวันทองชอบไปตอมเป็นจำนวนมากได้แก่ หวี ใบกล้วย กระเพา ซึ่งเป็นการง่ายในการกำจัดโดย สารเคมีฉีดพ่นเพื่อลดปริมาณของแมลงวันทองได้

11. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่ง ลำตัวขนาด 2x3 มิลลิเมตร ลำตัวปกคลุมด้วยผงสีขาว ชอบเกาะกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน อาการเข้าทำลาย มักพบตามผิวกาบใบ และคอยอด หากมีการทำลายมากทำให้ผลกล้วยมีขนาดเล็กลง ผลผลิตลดลง

การป้องกันและกำจัด ควรทำความสะอาดต้นกล้วย หรือพ่นด้วยสารเคมี เช่น เซฟวิน-เอส 85 25 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบเพนโนไธออน 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

การเก็บเกี่ยว

ปกติแล้วกล้วยจะแก่โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังจากเริ่มออกดอก การเก็บเกี่ยวจะเก็บเกี่ยวความแก่ 80-100 % ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด

ลักษณะของผลที่นิยมเก็บเกี่ยวนั้น จะมีลักษณะผลกลมและเห็นเหลี่ยมเล็กน้อย ถึงผลกลมไม่มีเหลี่ยมเลย

การตัดเครือกล้วยให้ใช้มือที่ถนัดมากที่สุดจับมีด และมืออีกข้างหนึ่งจับที่ปลายเครือ แล้วใช้มีดยาวซึ่งคมตัดก้านเครือ (งวง) เหนือกล้วยหวีแรก ประมาณ 20 เซนติเมตร ในสวนที่เป็นแบบยกร่องจะล้างน้ำไปเลย ช่วยให้น้ำยางไม่เปื้อนผลกล้วย แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม การผึ่งควรตั้งให้ปลายเครืออยู่ด้านบนโดยวางพิงกันไว้

การตัดเครือกล้วย

การจัดการผลกล้วยหลังเก็บเกี่ยว

1. ทำการชำแหละหวีกล้วยเป็นหวี ๆ แล้วบรรจุหีบห่อส่งตลาดปลายทาง เพื่อนำไปบ่มขายในตลาดผู้บริโภคต่อไป ช่วงขณะชำแหละหวีกล้วยต้องระวังน้ำยางกล้วยจะเปื้อนผลกล้วยจะดูไม่สวยงาม อาจชำแหละลงในน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง หรือเป่าด้วยพัดลม

 การแต่งหวี


2. การคัดคุณภาพและการคัดขนาด หลังชำแหละกล้วยเป็นหวี ๆ แล้ว ก็อาจจะพบกล้วยบางหวีหรือบางผลมีตำหนิ หรือถูกโรคแมลงทำลายก็ให้คัดแยกออก ขณะเดียวกันให้ทำการคัดขนาดหวี และผลกล้วยไปในคราวเดียวกันเลย ตามขนาดใหญ่ กลาง เล็ก

การคัดคุณภาพ

3. บรรจุหีบห่อลงในกล่อง หรือเข่งที่บุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือใบตองสดก็ได้ เพื่อป้องกันมิให้กล้วยผิวช้ำหรือดำได้ ขณะบรรจุจะมีการนับจำนวนผลไว้แล้ว กรณีจำหน่ายแบบนับผล แต่ถ้าจำหน่ายเป็นกิโลกรัมก็ทำการชั่งน้ำหนักแต่กล่องหรือเข่ง แล้วเขียนบอกขนาดและน้ำหนักไว้เลยด้วยป้ายกระดาษแข็ง

การบรรจุกล้วยลงกล่อง

นอกจากบรรจุภาชนะแล้ว ในบางท้องที่อาจใช้วิธีบรรจุบนกระบะรถยนต์บรรทุก หรือตู้รถไฟแบบห้องเย็น โดยการเรียงหวีกล้วยคว่ำลงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การชำแหละและทำความสะอาดด้วยน้ำยา

การบ่มกล้วย

         เป็นวิธีที่ทำให้กล้วยที่ตัดมานั้นสุกและเข้าสีสม่ำเสมอกัน สะดวกในการจัดจำหน่าย ในประเทศไทยนิยมบ่มกันได้แก่ กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง โดยเรียงกล้วยในเข่งที่กรุด้วยกระดาษโดยรอบ หรือใส่กล้วยลงในโอ่งแล้วใส่ถ่านแก๊ซแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ ที่ทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยกระดาษ จะทำให้กล้วยสุกภายใน 1-3 วัน

นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้สารละลายเอทธีลีน เช่น อีเธล (Ethel) ความเข้มข้น 500-1000 ppm พ่นที่ผลกล้วยแล้วหุ้มด้วยถุงพลาสติก 1 วัน แล้วเปิดออกผึ่งไว้ให้อากาศถ่ายเท กล้วยจะสุกภายใน 1-3 วัน สิ่งที่ควรคำนึงในการบ่มนั้น ภาชนะที่ใช้บ่มต้องสะอาด อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12-17 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90%

การลำเลียงผลผลิต


การชะลอการสุก

      ในการส่งกล้วยไปจำหน่ายในตลาดปลายทางที่ค่อนข้างไกล หรือตลาดต่างประเทศที่ต้องการกล้วยดิบ ในกล้วยหอมทองมีปัญหา เพราะสุกง่าย แม้ไม่ต้องบ่ม การทำให้กล้วยสุกช้า โดยใช้อุณหภูมิต่ำในการขนส่งก็จะช่วยชะลอการสุกได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้รวมถึงการใช้สารละลายโปแตสเซี่ยมเปอร์มังกาเนต (ด่างทับทิม) ใส่ลงไปในกล่องก็สามารถชะลอการสุกได้อีกวิธีหนึ่งด้วย

การบรรทุกกล้วยลงเรือ


ที่มา http://203.172.218.154



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

การทำงานเป็นทีม
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : บางนาตราด วุฒิ ม.6 จัดเรียงสินค้าลำปาง ดาต้าโปร เชียงใหม่ ชลบุรี แหลมฉบัง QC สมัคงานส่งเสริมการขาย m 150 หางานเป็นล่าม broker marsh pb ชิโนทัย AEU ธุรการสะพานสูง หางานทั่วไปสุขุมวิท งานว่างปราจีน บิ๊กซีสาขาร่มเกล้า pc ห้าง ห้างเซนทรัลแจ้งวัฒนะ speedchannel แจกสินค้า แจกใบปลิว ชงชิม ติด่รถส่งสินค้า บิ๊กซี PC ฉะเชิงเทรา หางานเซ็นทรัลบางนา แผนกบุคคลpayroll ชลบุรี ธุรการเพชรบุรี โรงบาลศรีวิขัย หางานจักกิจกรรม สงขลา วุฒิ ปวส. จ.นนทบุรี ช่างไฟฟ้า สุขาภิบาล 3 7669031 ประเทศไตหวัน งาน staff Japan Turkey Metro JV ขายสินค้าชั่วคราว โรงสี สนามบินสุวรรณภูม GL นิคม ชลบุรี โรงเรียน พัทยา ขับรถ ไร่ขิง เจ้าหน้าที่ธุรการลาดพร้าว dhl งานแม่ริม โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ถนนบางกะปิ นิคมนวนครโคราช ทีปรึกษา วางแผน branch manager แฟรีพลาซ่า T3NET ช่างกลชลบุรี ผู้ช่วยผู็้จัดการ หัว top เจริญ