หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 78 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 






ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน


 
 


1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน
1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ

2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน

2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง

2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก

 


ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ

 

 


 


จากสภาพการเลี้ยงที่ปล่อยตามธรรมชาติ และขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้การที่จะนำไก่พันธุ์ดีเข้าไปเผยแพร่ เพี่อขจัดข้อเสียของไก่พื้นบ้านดังที่กล่าวมา แล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไก่พันธุ์ดีนั้น ๆ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำ เสมอ ถ้าเอามาเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้น การที่จะ ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ในสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ด่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ ตามยังมีหนทางที่จะปรับปรุงไก่พื้นบ้านให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นโดยการคงสภาพ ข้อดีของไก่พื้นบ้านไว้ และในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อเสียของไก่พื้นบ้านโดยการหา ลักษณะที่ดีเด่นของไก่พันธุ์อื่นเข้ามาแทน การปรับปรุงลักษณะเช่นนี้สามารถทำได้ ง่าย ๆ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์พื้นบ้านกับไก่พันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่เรา ต้องการ ไก่ที่นำมาพิจารณา ในกรณีนี้ต้องเป็นไก่ที่เป็นพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตทั้ง เนื้อและไข่ และค่อนข้างทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดี แล้วจะพบว่า ไก่พันธุ์โรดไอแลนด์เรด ซึ่งนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าไก่โรดนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อนำไก่ทั้งสองพันธุ์มาผสมข้ามพันธุ์แล้ว จะได้ไก่ที่ มีการเจริญเติบโตและการให้ไข่ที่ดีกว่าไก่พื้นบ้านเดิม นอกจากนี้มีความสามารถใน การหากินในสภาพการเลี้ยงแบบปล่อยลานบ้านเหมือนกับไก่พื้นบัานไดัอีกด้วย

นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธู์ผู้เลี้ยงควรจะปฏิบัติดังนี้คือ

1. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง

2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได

การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขี้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงเป็นต้น

การผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชี่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรง

การแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย

3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ

4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

 


เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร

การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ
  1. ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่
  2. ให้ใก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน
  3. เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก
  4. ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน
  5. ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค

การสร้างเรือนโรงไก่ควรคำนึงถึงความโปร่งและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงพื่อที่จะให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวกพอควร

บริเวณตัวเรือนโรงจะใช้ลวดตาข่าย แห อวนเก่า ๆ หรือไม้รวกผ่าชีกก็ ได้ นำมาปูรอบเรือนโรง นอกจากนั้นควรมีถุงปุ๋ยหรือกระสอบเก่า ๆ แต่ล้างให้ สะอาดแล้ว ส่าหรับทำเป็นม่านป้องกันลมและฝน โดยเฉพาะในระยะการกกลูกไก่ เรือนโรงที่สร้างอยู่ใต้ถุนบ้านไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหลังคา แต่ถ้าสร้างอยู่บนลาน บ้านอาจใช้แผงจากมุงเป็นหลังคาได้

ขนาดของเรือนโรงขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง เช่น ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่นที่ได้น้ำหนักระหว่าง 1.5 - 2.0 กิโลกรัม จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตาราง เมตร ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120 ตัว แต่ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ควรใช้ส่ดส่วน ประมาณ 4 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร ดังนั้นในเรือนโรงดังกล่าวจะสามารถเลี้ยงได้ ประมาณ 60 ตัว

 


ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ

ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย

หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้

1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด
สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง 7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ

9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วในช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้

10. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
11. นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้

ขั้นตอนการคำนวณคือ

1. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม ในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11

3. จากข้อ 1 และข้อ 2 สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้



ลักษณะการฟักไข่ของแม่ไก่บ้าน ยังจัดได้ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณประโยชน์ต่อเกษตรกรตามชนบทเป็นอย่างยิ่งในทางตรงข้าม การเลี้ยงไก่ในเรือนโรงที่เลี้ยงกันแบบอุตสาหกรรมนั้น ลักษระการฟักไข่ของแม่ไก่จะไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้นไก่ที่เลี้ยงในเรือนโรงใหญ่ ๆ ทั้งไก่เนื้อหรือไก่ไข่ จะไม่พบว่ามีลักษณะการฟักหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาก ลักษณะดังกล่าว ได้ถูกคัดทิ้งเพื่อเร่งให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้มากขึ้น





การฟักไข่ของแม่ไก่ยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรเพราะ
1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม
2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง
3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้
4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี

เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้

1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้

1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก
1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์
1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่าเสียในระหว่างการฟักได้ง่า
1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป
1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก
1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก (ถ้าเก็บในตู้เย็นควรนำไข่มาวางไว้ข้างนอกเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อปรับอุณหภูมิในไข่ให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก)
1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ
1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่



การส่องไข่ฟักนั้นจะสามารถเจริญเติบโตออกมาเป็นตัวได้หรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องเคาะไข่ให้แตกทำได้โดยการส่องไข่ การส่องไข่ทำให้สามารถทราบได้ว่าถ้าไข่ฟักฟองนั้นไม่ได้รับการผสมจากตัวผู้ก็สามารถคัดแยกออกมาประกอบเป็นอาหารบริโภคได้ และยังทำให้ทราบได้ว่าไข่ฟักฟองไหนเป็นไข่เน่า เพื่อแยกทิ้งออกก่อนที่ไข่จะระเบิดภายในรัง ซึ่งจะส่งกลิ่นเหม็นมาก และยังมีผลต่อการฟักออกของไข่ฟักฟองอื่น ๆ ด้วย


การส่องไข่สามารถทำได้ 2 แบบ

2.1 แบบกลางแจ้ง ใช้กระดาษสีดำ นำมาม้วนเป็นรูปกรวยโดยให้รูกรวยข้างหนึ่งมีขนาดเท่ากับตาที่จะมองผ่าน ส่วนรูกรวยอีกด้านหนึ่งจะมีขนาดที่กว้างกว่าแต่ไม่ใหญ่กว่าด้านป้านของไข่ฟัก การส่องทำได้โดยนำด้านป้านของไข่ฟักประกบกันกับรูกรายด้านกว้าง แล้วส่องไข่ในที่กลางแดด เมื่อมองผ่านจากด้านแคบของรูกรวยผ่านความมืดของกรวยกระดาษมากระทบด้านป้านของไข่ฟักจะพบลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

ถ้าเป็นไข่มีเชื้อจะเห็นเส้นเลือดแตกแขนงเป็นร่างแห
ถ้าเป็นไข่ไม่มีเชื้อจะเห็นไข่ทั้งฟองใสโปร่งแสง
ถ้าเป็นไข่เชื้อตายจะพบรอยเลือดเป็นรอยเล็ก ๆ หรือจาง ๆ ติดที่ผิวเปลือกไข่
ถ้าเป็นไข่เน่าจะพบว่าไข่ทั้งฟองจะมืดทึบไม่พบเส้นเลือดใด ๆ และมักจะเริ่มส่งกลิ่นเหม็นออกมาก่อนที่จะระเบิด


2.2 แบบมืด จะทำในเวลากลางวัน หรือกลางคืนก็ได้ ถ้าทำในเวลากลางวันจำเป็นต้องทำในห้องมืดที่มีแสงผ่านน้อยมาก หลักการคือการใช้กระบอกไฟฉายประกบกับกรวยกระดาษดำด้านหนึ่ง

ส่วนปลายของกรวยอีกด้านหนึ่งสำหรับประกบที่ไข่ฟัก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าด้านป้านของไข่ฟัก เวลาส่องไข่ก็เปิดสวิสท์กระบอกไฟฉาย ซึ่งก็จะทำได้ สามารถคัดแยกไข่ที่ไม่ต้องการออกได้เช่นเดียวกับแบบสว่างที่กล่าวไว้ข้างต้น




ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้


ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า
อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย
ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง

ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้าง และให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่

การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย

3.1 วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้

3.2 แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความอบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม

3.3 หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10-50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกกแล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน

3.4 ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน

3.5 ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป

การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย



เป็นวิธีที่จะลดพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของไก่เพศผู้ลงทำให้ได้เนื้อไก่ที่นุ่มและรสชาติดีกว่าไก่ที่ไม่ตอน การตอนไก่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการทำให้ไก่มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตเร็วขึ้น หากเพื่อต้องการให้อาหารที่กินเข้าไปนั้นไปสะสมเป็นไขมันแทรกเนื้อทำให้คุณภาพเนื้อดีขึ้น วิธีการตอนไก่ทำได้ 2 วิธี คือ

4.1 การตอนแบบผ่าข้าง วิธีการนี้เป็นการตอนแบบถาวร หมายถึงการที่จะผ่าและนำเอาลูกอัณฑะออก ขนาดของไก่ที่เหมาะสำหรับการตอนแบบนี้ควรหนักประมาณ 0.7 กิโลกรัมขึ้นไป และน้ำหนักหลังการตอนที่เหมาะต่อการส่งตลาดควรหนักประมาณ 300-4.0 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ไก่

ก่อนที่จะลงมือตอนควรจะจับไก่ขังไว้ให้อดน้ำอดอาหารประมาณ 24 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 12 ชั่วโมง จุดประสงค์เพื่อจะให้ในท้องไม่มีอาหารลำไส้แฟบ จะทำให้ตอนได้สะดวกเพราะมองเห็นลูกอัณฑะชัดเจน และเลือดจะแห้งเร็ว

รายละเอียดขั้นตอนวิธีการตอนแบบผ่าข้างจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้เพราะการตอนแบบนี้ต้องอาศัยความชำนาญ จึงจะไม่เป็นอันตรายต่อไก่ที่จะตอน ผู้ที่สนใจควรศึกษาและฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญเสียก่อน การตอนจึงจะได้ผล

เมื่อตอนเสร็จสามารถให้น้ำและอาหารได้ทันที แต่ควรจำกัดเรื่องอาหารบ้างเพราะมิฉะนั้นไก่จะกินอาหารมาก เพราะอดอาหารมานานจะทำให้ลำไส้ขยายใหญ่หลุดออกมานอกรอยแผลได้ อาหารที่ให้ไก่ตอนควรเป็นอาหารที่มีพลังงานสูงเพราะต้องการให้ไก่สะสมไขมันแทรกเนื้อ ส่วนน้ำที่ให้ควรจะเสริมยาปฏิชีวนะให้ด้วย) หลังจากนั้นให้สังเกตลักษณะของไก่ถ้าพบว่าหงอน เหนียง หน้าเริ่มซีดและไก่ลดอาการเคลื่อนไหวงโดยจะไม่มีการไล่จิกตีกัน แสดงว่าการตอนของเราได้ผลแต่ถ้าพบว่าหงอน เหนียง หน้ายังแดงอยู่แสดงว่าการตอนของเราไม่ได้ผล สาเหตุใหญ่เพราะดึงลูกอัณฑะออกไม่หมด

ไก่ที่ตอนโดยวิธีผ่าข้างนี้ควรจำหน่ายหลังจากที่ตอนแล้วอย่างน้อย 3-4 เดือน จึงจะได้น้ำหนักดี เพราะหลังจากตอนใหม่ ๆ น้ำหนักจะยังเพิ่มขึ้นช้ากว่าพวกที่ไม่ได้ตอน เพราะไก่เกิดภาวะเครียดระหว่างการตอน แต่หลังจาก 2 เดือนไปแล้วน้ำหนักไก่ตอนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

4.2 การตอนแบบฝังยา การตอนแบบนี้ได้เปรียบกว่าการตอนแบบผ่าข้าง คือไม่เกิดภาวะเครียดกับไก่ เพราะไม่จำเป็นต้องอบน้ำอดอาหารอีกทั้งไก่ไม่ต้องเสียเลือดด้วย อุปกรณืที่ใช้ในการตอนก็มีเพียงเข็มสำหรับฉีดเม็ดยาเท่านั้น

วิธีการฝังยาดดยการดึงขนบริเวณส่วนหัวของไกที่เราจะฝังออกหลังจากนั้นนำเอาเม็ดยาใส่ในเข็ม จับปลายแหลมของเข็มแทงลงไปใต้ผิวหนังบริเวณส่วนหัว โดยแทงลงมาทางคอเพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดยาหลุดหายเวลาไก่ยืน จากนั้นก็ดันให้เม็ดยาเข้าไปฝังไว้ใต้ผิวหนัง หลังจากการฝังยาประมาณ 10-14 วัน จะพบว่าไก่เพศผู้ดังกล่าวจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะหยุดจิกตีกัน หงอนและหน้าเริ่มซีด และถ้าทำในพ่อไก่พันธุ์อาการที่เคยขันจะหลุดไป

บางครั้งการตอนแบบฝังยามักทำในไก่เพศเมียที่ไข่น้อย ต้องการตัดทิ้งหรือในพ่อไก่พันธุ์ที่คัดทิ้ง โดยจะฝังยาก่อนจะจำหน่ายประมาณเดือนกว่า ๆ ทำให้ได้เนื้อไก่ที่นุ่มขึ้นไม่ถึงกับเหนียว ข้อควรระวังของการรับประทานไก่ที่ตอนโดยวิธีฝังยาคือบริเวณคอไก่ถึงหัวไก่ไม่ควรรับประทาน ควรจะทิ้งเพราะว่าตัวยายังอาจสลายไม่หมด มีผลตกค้างซึ่งเมื่อคนกินเข้าไป อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นในหลายประเทศที่เจริญแล้วจึงบังคับไม่ให้ใช้ยาดังกล่าวสำหรับตอนไก่

การตอนไก่แบบนี้ ถ้าตอนในระยะที่ไก่มีน้ำหนัก 0.7-0.8 กิโลกรัม ยา 1 เม็ด (ซึ่งจะหนักประมาณ 15 มิลลิกรัม) จะอยู่ได้นานประมาณ 6 อาทิตย์ ถ้าน้ำหนักไก่ยังต่ำไปก็ควรจะฝังยาต่ออีก 1 เม็ด เพราะถ้าไม่ฝังยาต่อไก่จะกลับมาแสดงพฤติกรรมเหมือนไก่เพศผู้เช่นเดิม โดยจะเริ่มจิกตีกัน หงอนเหนียงจะหน้าเริ่มแดง น้ำหนักของไก่หลังตอนควรจะได้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ตลาดต้องการ



โดยทั่วไป การเลี้ยงไก่แบบชาวบ้านแต่ละปีจะเกิดโรคระบาดเป็นสาเหตุทำให้ไก่ตายปีละมาก ๆ บางครั้งอาจตายเกือบทั้งหมู่บ้านทั้ง ๆ ที่ไก่บ้านเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างจะทนทานต่อโรคเมื่อเทียบกับพันธืแท้อื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้นถ้าหากสามารถลดอัตราการตายได้จะยังผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนไก่ลูกผสมพันธุ์โรคกับไก่พื้นบ้านเมื่อจะนำไปเลี้ยงแบบชาวบ้านก็จำเป็นหาทางป้องกันโรคไว้ก่อนเสมอ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ๆ



1. การทำวัคซีน
การทำวัคซีนจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่มีชีวิต ที่บุกรุกเข้าไป ดังนั้นวัคซีนก็คือสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือถูกทำให้ตายแวก็ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ก็จะเริ่มสร้างภูมิต้านทานขึ้นต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมชนิดนั้น ๆ ที่เจาะจง ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิดด้วยกันที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับป้องกันโรคไก่ แต่ก็มีโรคไก่อีกหลายโรคที่ยังไม่สามารถจะผลิตเป็นวัคซีนออกมาใช้ได้

ข้อควรปฏิบัติหรือข้อควรจำในขณะที่ให้วัคซีนไก่คือ
1. ต้องทำวัคซีนในขณะที่ไก่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่านั้น
2. ควรทำวัคซีนในขณะที่อากาศเย็นสบาย คือ ช่วงเช้า หรือเย็น การทำวัคซีนในขระที่อากาศร้อน จะสร้างภาวะเครียดให้กับไก่เพิ่มขึ้นและอาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้มาก
3. การให้วัคซีนควรปฏิบัติตามคำแนะนำของชนิดวัคซีนนั้น ๆ ว่าจะให้ได้ในทางใดบ้าง เช่น ให้โดยวิธีการแทงปีก หรือวิธีการหยอดจมูก
4. ก่อนและหลังการทำวัคซีน 1 วัน ควรละลายยาป้องกันความเครียดให้ไก่กิน
5. วัคซีนควรเก็บไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตามชนิดของวัคซีนนั้น ๆ
6. วัคซีนที่ผสมเสร็จแล้วควรรีบนำไปให้ไก่ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะวัคซีนจะเสื่อม และไม่ควรให้แสดงแดดส่องถูกวัคซีนโดยตรง
7. ขวดวัคซีนที่ใช้แล้วควรนำไปฝังดินลึก ๆ หรือนำไปเผาหรือต้มให้เดือดก่อนทิ้ง
8. ควรจำไว้ว่าการทำวัคซีนนั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะให้ผลป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก

วัคซีนไก่ชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ และเกษตรกรควรทราบมีดังนี้

1.1 วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า โรคกะลี้หรือโรคห่า ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าเกิดโรคระบาดขึ้นอัตราการตายจะสูงมาก บางครั้งอาจตายหมด วัคซีนชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.1.1 สเตรน เอฟ (F)เป็นชนิดที่ใช้ทำในระยะลูกไก่ อายุลูกไก่ที่เหมาะสำหรับการทำวัคซีนชนิดนี้คือ อยู่ระหว่าง 1-3 สัปดาห์ วิธีการให้จะทำโดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก

1.1.2 สเตรน เอ็ม พี (MP) เป็นชนิดที่ใช้สำหรับไก่ที่เคยผ่านการทำวัคซีนนิวคลาสเซิล เสตรน เอฟมาก่อน วิธีการให้โดยใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือแทงปีก

1.2 วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น กัน อายุไก่ที่เหมาะสำหรับการทำวัคซีนชนิดนี้คือ 1-3 สัปดาห์ อาการที่พบคือลูกไก่มักจะยืนอ้าปากหายใจ ถ้าเปิดซากพิสูจน์ จะพบว่า บริเวณหลอดลมที่ส่วนคอจะมีรอยเลือดสีแดงเข้มการให้วัคซีนชนิดนี้ทำโดยวิธีหยอดจมูก หรือหยอดตา

1.3 วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส มักพบแพร่ระบาดอยู่ทั่วไป เพราะยุงจะเป็นพาหะของโรค อัตราการตายอันเนื่องจากโรคนี้ไม่สูงมากนักแต่ความแข็งแรงของไก่จะลดง ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไก่ที่เกิดโรคนี้ไม่สามารถที่จะจำหน่ายได้ เพราะตามบริเวณหน้าและแข้งขาจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ กระจายไปทั่วตัวทำให้ดูน่าเกลียด การทำวัคซีนชนิดนี้สามารถทำควบคู่พร้อมกับวัคซีนนิวคลาสเซิล หรือหลอดลมอักเสบอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การใช้วัคซีนชนิดนี้จะใช้วิธีการแทงปีก และให้เพียงครั้งเดียวไก่ก็สามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้ตลอดชีพ ซึ่งต่างจากวัคซีนนิวคลาสเซิลและหลอดลมอักเสบ ที่จำเป็นต้องทำเป็นระยะ ๆ

2. การใช้ยาปฏิชีวนะ

2.1 สภาวะเครียด อัตราความสูญเสียของการเลี้ยงไก่โดยปล่อยให้หาอาหารตามธรรมชาติเองนั้น มีส่วนหนึ่งที่เนื่องมาจากความแปรปรวนของอากาศที่จะทำให้ไก่เกิดสภาวะเครียด เป็นเหตุให้ไก่ต้องปรับสภาพร่างกาย ตัวไหนปรับไม่ทันย่อมแสดงอาการป่วย ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค และตายในที่สุด

สาเหตุต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดกับไก่นั้นมีดังนี้

อากาศร้อนจัดแล้วเปลี่ยนเป็นฝนตกทันที
ลมกรรโชกรุนแรงตลอด
การไล่จับไก่ที่อาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือของสัตว์ชนิดอื่น
ไก่ได้กินอาหารไม่เพียงพอ
การทำวัคซีนไก่
การนำไก่จากต่างถิ่นมาเลี้ยงรวมกัน
เปลี่ยนอุปกรณ์การเลี้ยงไก่อย่างกระทันหัน
ไก่ที่เริ่มแสดงอาการป่วย เป็นต้น

สภาวะเครียด ในไก่สามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือพวกไวตามินรวมละลายน้ำให้ไก่ดื่มล่วงหน้าก่อนหรือในวันที่พบว่าไก่ได้เผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นแล้ว การใช้ยาป้องกันสภาวะเครียดจะส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของไก่เป็นไปด้วยดี ไม่ชะงักงัน ซึ่งจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงรอดสูงขึ้น และได้ไก่ที่มีคุณภาพดีด้วย

2.2 โรคหวัด โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกและมักพบว่าเป็นปัญหาต่อการเลี้ยงไก่บ้านมาโดยตลอด โดยเฉพาะในฤดูฝน คือ โรคหวัด อาการที่พบคือ ตาหรือหน้าจะบวม ในโพรงจมูกจะอุดตันด้วยเมือกที่มีกลิ่นเหม็นคาว การรักษาควรใช้ยาตระกูลซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน

2.3 โรคพยาธิ โรคอื่น ๆ ที่พบบ่อย ๆ ในการเลี้ยงไก่แพื้นบ้านคือโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร และพยาธิภายใน การป้องกันโรคพยาธิคงทำได้ยาก เพราะต้องปล่อยไก่ออกหาอาหารเองตามธรรมชาติ ซึ่งไก่ย่อมได้รับไข่พยาธิที่แพร่กระจายอยู่ตามพื้นดินเข้าไป แต่การป้องกันรักษาก็ยังพอทำได้

การรักษาโรคพยาธิภายนอกอาจทำได้โดยการจับไก่จุ่มลงในน้ำที่ละลายด้วยยาฆ่าแมลงพวก เซฟวิ่น ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำ 1 แกลลอน หรือใช้มาลาไธออน 1 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำ 1 แกลลอนก็ได้ การจับไก่จุ่มควรใส่ถุงมือยางให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยาถูกดูดซึมผ่านเข้าทางผิวหนังของมนุษย์ ในระหว่างการจุ่มยานั้นควรใช้มือลูบย้อนขนไก่ เพื่อให้ยาส่วนมากแทรกซึมเข้าไปตามซอกขนไก่

การกำจัดพยาธิภายในก็ใช้ยาถ่ายพยาธิผสมในอาหารให้ไก่กินซึ่งประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน บางชนิดมีประสิทธิภาพเพียงแค่ขับพยาธิออกจากร่างกายเท่านั้น แต่บางชนิดจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าพยาธิได้ ซึ่งการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านนี้ควรถ่ายพยาธิโดยใช้ยาที่สามารถฆ่าพยาธิได้เพื่อป้องกันไม่ให้พยาธิที่ถูกขับออกมาแต่ยังไม่ตายกลับเข้าไปในตัวไก่ได้อีก

ที่มา www.whk.ac.th

 




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

กำเนิดเครื่องยนต์ดีเซล
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : สจ๊วต สายการบิน โรงงานแถวพิษณุโลก งานรับจ้างงาน เทพ หางานห้างสระบุรี วุฒิ ม.6 pc ประจำห้างนวนคร หางานวุฒิ ปวส. กทม การตลาด ลาดระบัง คลับ 21 งาน ถนนสุขุมวิท 63 พนักงานครัว ชลบุรี document controller ฝ่ายผลิตหญิงเชฟ เจ้าหน้าที่ธุรการ ประสานงานขาย คนขับรถส่วนตัว พัทยา คลินิกจัดฟัน ผลิต ลาดกระบัง luxley งานแถวนิคมบางชัน รับรถตู้ร่วมงาน สมัครงานdtacยะลา ประสานงานขาย/บางขุนเทียน วุฒิ ม.6 เขตบางพลี ราชการ วุฒิ ม.6 กทม. ผููููููู้้้้้้้้แทนขาย ผุ้จัดการฝ่ายบุคคล หางานราชการ จังหวัดชลบุรี uw2ye73 เหล็กบุญเกรียง งานแปลเกาหลี งาน ร้านกาแฟรายวัน vdo present pretty PR น้ำมันมะพร้าว บัญชี ม.6 ผุ้จัดการโรงงาน โรงเรียน สมุทรสาคร ธุรการ แถวเตาปูน เป่าพลาสติก ไคเซ่น พนักงานเสริฟในต่างประเทศ ประกายเพชร ผู้จัดการร้าน ราชบุรี บัญชี พัฒนาการ กราฟ ิก คนขับรถน้ำมัน คนขับรถ กรุงเทพ งานบัญชี บางขุนเทียน affter effect