หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง การเขียนเรียงความ
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 19 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




การเขียนเรียงความ

                                                                                                                                                                                                                                   เสถียร       เชียงใหม่…..

                                ในบรรดาทักษะภาษาไทยทั้ง  4  ด้าน คือ   การฟัง   การพูด   การอ่านและการเขียน 

ทักษะการเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญ  เพราะการเขียนเป็นการส่งสารที่สามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและความเข้าใจของผู้เขียนโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อ   เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้  ความเข้าใจ  ทักษะการเขียนจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะผู้เขียนต้องคิดก่อนว่าจะเขียนอย่างไรจึงจะมีความหมายตรงกับความนึกคิดของตน

         เรียงความ  เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจ

ตลอดจนความรู้ให้ผู้อ่านได้รับทราบ  เป็นการเขียนที่มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน

เป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตนออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้ ความเข้าใจ เป็นผลรวมของการฟัง  การอ่าน การพูด  การเขียน   อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานของการเขียนทั้งมวลไม่ว่าจะเป็นบทความ  นวนิยาย หรืองานเขียนอื่น ๆ  จนมีนักการศึกษาบางท่านได้ให้คำนิยามว่า    “เรียงความ คือ ประกาศความมีปัญญาของบุคคลออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร”

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น ต้องประกอบไปด้วย

1. มีจุดหมายที่แน่นอน และประมวลข้อคิดที่สำคัญ ๆ เข้าสู่จุดหมายนั้นอย่างมีระเบียบ               

2. มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเรื่อง หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่องเด่นชัด และมีสัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธ์กลมกลืนกับความคิด  ทั้งยังต้องมีสารัตถภาพ คือ การเน้นข้อคิดที่สำคัญ

3. มีสัดส่วนที่เหมาะสม คือ มีข้อความเปิดเรื่อง ปิดเรื่อง และดำเนินเรื่องตามสัดส่วนที่พอเหมาะ

4. มีการจัดลำดับเรื่องที่เหมาะสม โดยเขียนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นหัวข้อ

สั้น ๆ แล้วนำมาเรียงลำดับให้เป็นระเบียบ

5. มีรูปแบบดี คือ หัวเรื่อง  การย่อหน้าข้อความ การเว้นวรรคตอน การใช้เครื่องหมายต่าง ๆรวมถึงความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยของการเขียน

6. มีโครงเรื่องดี คือ ความยาวของเรื่องพอเหมาะกับเวลาที่ให้เขียนเหมาะกับหัวเรื่องและระดับของผู้เขียน

7. มีการใช้ถ้อยคำภาษาดี  การเขียนเรียงความ คือ  การสื่อด้วยภาษา   การใช้ถ้อยคำจึงจำเป็นมากต้องใช้คำให้ถูกต้องตรงความหมาย เหมาะสมกับบุคคล  และผูกประโยคได้ถูกต้อง  สละสลวยกะทัดรัด และมีท่วงทำนองการเขียนดี

8. มีเนื้อหาดี คือ เนื้อหาสอดคล้องกับหัวเรื่อง เนื้อความสัมพันธ์กันและมีเนื้อหาพอที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความเข้าใจตามหัวเรื่องที่กำหนดไว้

9. มีความคิดดี ความคิดดีต่างกับเนื้อหาดี  เพราะเนื้อหาเป็นสาระที่เกี่ยวกับความรู้หลักวิชา  ข้อเท็จจริง  แต่ความคิดเป็นเรื่องของความเข้าใจ  ข้อเสนอแนะ  ความคิดเห็น  การคิดหาเหตุผลซึ่งเป็นเรื่องภูมิปัญญาของผู้เขียน

10. คำนึงถึงองค์ประกอบของการเขียนเรียงความ เช่น   จุดประสงค์ของการเขียน  กลุ่มผู้อ่าน  รูปแบบของการเขียน  วิธีการนำเสนอ  กลไกการเขียนและอื่น ๆ

11. มีการวางแผนการเขียน เช่น จะเลือกเขียนเรื่องอะไร  ต้องการสื่อความหมายในประเด็นใด   จะเลือกวิธีการเขียนแบบใด  จะตีกรอบการเขียนให้กว้างขนาดไหน เป็นต้น

12. ดำเนินการเขียนตามขั้นตอนของกระบวนการเขียน  เช่น การรวบรวมแนวความคิดการสังเคราะห์เนื้อหาหรือวัตถุดิบที่จะเขียน  การวางโครงร่าง  การเขียนร่าง  การทบทวน  ตรวจทานแก้ไข

13. คำนึงถึงหลักการใช้ภาษา เช่น  การใช้ถ้อยคำที่สละสลวยถูกต้องตามหลักภาษาเขียนการใช้คำพังเพย  สุภาษิตเปรียบเทียบ  การใช้คติพจน์หรือคำกล่าวอ้างที่สมเหตุสมผล  การเน้นจุดที่สนใจการให้สาระความรู้ที่เพียงพอ  การรักษาความเป็นเอกภาพ  ความกลมกลืนตลอดจนอักขรวิธีที่ถูกต้อง

14. การปรุงแต่ง เมื่อเขียนเสร็จอย่าเบื่อที่จะทบทวน  เพราะนั่นคือ การเพิ่มคุณภาพของผลงานที่เขียนไปแล้ว  บางครั้งเกิดความเบื่อหน่ายที่จะอ่านซ้ำ  จึงทำให้งานเขียนเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดต่างๆ ฉะนั้นควรเสียเวลาสักนิดเพื่อตรวจทานแก้ไขและขัดเกลาสำนวนภาษาหรือใจความสำคัญของเรียงความให้ดีขึ้น อาจจะเป็นการตัดข้อความที่ทำให้สับสนหรือการเขียนที่วกวนออกอาจจะเพิ่มจุดสำคัญที่จะต้องเน้นเข้าไปอีก  หรือบางทีอาจจะเรียงลำดับเหตุการณ์ใหม่  เป็นต้น

15. การคำนึงถึงความสะอาด  ลายมือประณีตหรือคุณภาพของการพิมพ์  ภาษาที่อ่านง่าย

สื่อความหมายลึกซึ้งกินใจ  การรักษาเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ลีลาการเขียน  การสร้างผลงานที่ดีเด่นออกสู่สายตาผู้อ่านอย่างสม่ำเสมอ  สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างเกียรติคุณและชื่อเสียงแก่ผู้เขียนทั้งสิ้น

ในด้านรูปแบบของการเขียนเรียงความนั้น  เรียงความจะประกอบไปด้วย  3  ส่วนสำคัญ คือ  คำนำ  เนื้อเรื่อง  และสรุป

1. คำนำ  เป็นตอนเปิดเรื่อง หรือส่วนที่จะชักจูงใจให้ผู้อ่านติดตามต่อไป

2. เนื้อความหรือเนื้อเรื่อง  เป็นใจความส่วนใหญ่ของเรื่อง  เนื้อความจะมีลักษณะอย่างไรขึ้นอยู่กับประเภทของเรื่อง

3. สรุปหรือลงท้าย  เป็นการสรุปความคิดหรือการนำเอาข้อความสำคัญมากล่าวย้ำให้เด่นชัด  เพื่อให้ผู้เขียนแสดงประเด็นความคิดสำคัญให้แน่นอนยิ่งขึ้น

ทั้ง  3  ส่วนอาจเขียนเป็นแผนภูมิดังนี้

 

 

                                        -------------- ---คำนำ                          --------         ย่อหน้า

                                                                                                  ------- -                ย่อหน้า

                                                                                                  --------                 ย่อหน้า

          เรียงความ  --- --------------------- เนื้อเรื่อง --------------------------          ย่อหน้า         

                                                                                                  ---------               ย่อหน้า

                                                                                                 ------- --                ย่อหน้า

                                             -------------- สรุป                         ----------          ย่อหน้า

 

การเขียนคำนำ                     

คำนำ เป็นบทเริ่มต้นของเรียงความที่จะแนะนำให้ผู้อ่านทราบว่าเรียงความนี้จะกล่าวถึงเรื่องอะไร คำนำจะนำความสนใจของผู้อ่านไปสู่เรื่องนั้น ๆ ด้วยวิธีการเขียนแบบต่าง ๆ การเขียนคำนำต้องเขียนให้เร้าความสนใจของผู้อ่าน  และทำให้ผู้อ่านสนเท่ห์  ตื่นเต้น  อยากอ่านเรื่องที่เขียน  การเขียนคำนำอาจตั้งเป็นคำถามหรือปรัชญาชวนคิด  อาจยกคำคม สุภาษิตมากล่าวหรืออาจใช้คำจำกัดความหรือยกเรื่องแปลก ๆ ที่ตื่นเต้นมากล่าวนำก็ได้  ข้อสำคัญคำนำต้องเขียนให้มีน้ำหนักน่าอ่าน  อย่าเขียนยาวเกินไป หรือออกนอกเรื่อง  หรือเอาเรื่องที่คนทราบอยู่แล้วมากล่าวจะทำให้คำนำจืด ไม่ชวนให้อ่าน โดยอาจสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1. ยกเอาคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมากล่าวนำ

2. โดยการอธิบายความหมายของเนื้อเรื่อง

3. ขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่เขียน

4. เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง

5. เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่น่าสนใจ

6. เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง

7. เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน

8. เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงความสำคัญของเรื่องที่เขียน

9. ต้องกำหนดไว้ในใจก่อนว่าจะเขียนคำนำอย่างไรจึงจะดึงดูดความสนใจ และ

สอดคล้องกับหัวเรื่อง

                 10. คำนำไม่ควรมีรายละเอียดมากเกินไปหรือเขียนยาวเกินไปพยายามใช้เฉพาะความสำคัญเท่านั้น

                 11. ควรพยายามใช้ภาษาให้ประณีตที่สุดเพื่อผู้อ่านจะได้เกิดความประทับใจ

การเขียนคำนำที่ดีนั้นต้องเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน  อาจเริ่มด้วยคำถาม 

คำพังเพย  การยกข้อความสำคัญและควรใช้ภาษาที่สละสลวยเพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่าน  สำหรับความยาวของคำนำนั้นไม่ควรเขียนยาวจนเกินไป 

                การเขียนเนื้อเรื่อง

การเขียนเนื้อเรื่องต้องยึดหลักที่สำคัญคือ

1. เขียนให้มีแนวคิดอย่างเดียว ไม่พูดนอกเรื่องหรือพูดในสิ่งหยุมหยิมเกินจำเป็น

2. เขียนให้ทุกส่วนทุกตอนของเรื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด

3. รู้จักเน้นในส่วนที่สำคัญ

4. เขียนให้สมบูรณ์  ไม่ทิ้งส่วนที่สำคัญของเรื่อง

5. เขียนให้มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง ถูกต้องและมีเหตุผลดี

6. เขียนตามลำดับเนื้อความของเรื่อง

7. มีการย่อหน้า และแต่ละย่อหน้าต้องมีความสัมพันธ์กัน

8. มีการเขียนประโยคเนื้อความ การวางประโยคเนื้อความอาจวางไว้ต้นประโยคหรือท้ายประโยค  หรือทั้งต้นและท้ายประโยคแต่ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของประโยคและย่อหน้าแต่ละย่อหน้าด้วย

การเขียนเนื้อเรื่องต้องไม่เขียนวกวน  การจัดระเบียบความคิดจะต้องไม่สับสน  อาจแบ่งเป็นหลายตอน  อาจมีหลายย่อหน้า  ที่สำคัญแต่ละย่อหน้าต้องมีความคิดสำคัญเพียงอย่างเดียวและทุกย่อหน้าต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

การเขียนสรุป

การสรุปคือ   การเขียนเพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องที่เขากำลังอ่านอยู่นั้นกำลังจบบริบูรณ์แล้ว  ข้อความในตอนนี้มักจะประกอบด้วยการกล่าวถึงใจความหรือสิ่งที่กล่าวมาแล้ว  แต่เป็นการกล่าวถึงในลักษณะรวบรัดและย่นย่อ  การกล่าวถึงสิ่งที่กล่าวมาแล้วอาจจะทำได้หลายลักษณะ เ ช่น   การระบุใจความสำคัญ ๆ  ซ้ำอีกครั้งหนึ่งหรือการเขียนย้ำสิ่งที่กล่าวมาแล้วอีก การกล่าวจึงอาจจะย้ำเฉพาะจุดเด่น ๆ เท่านั้น

ขนาดของการสรุป

การสรุปมี  2  อย่างคือ  การสรุปในย่อหน้ากับการสรุปในเรื่องใหญ่  การสรุปในย่อหน้ามีขนาดสั้นอาจประกอบด้วยประโยคเพียงหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น  และไม่แยกเป็นส่วนหนึ่ง

ต่างหากให้เห็นชัดเจนอย่างการสรุปของเรียงความเรื่องใหญ่  สรุปในย่อหน้าจึงเป็นเพียงประโยคสุดท้ายหรือก่อนประโยคสุดท้ายของย่อหน้าเท่านั้น  ส่วนสรุปในเรื่องใหญ่นั้นมักจะมีขนาดเป็นย่อหน้าหนึ่งในเรียงความเลยทีเดียว  ความสั้นยาวของสรุปอย่างนี้ไม่ควรเยิ่นย่อยืดยาวความ ควรจะกระชับให้หนักแน่นและสั้นกระแสความสรุป จึงจะเป็นสรุปที่เหมาะสม

สิ่งที่ควรนำมาช่วยในการสรุป

เพื่อให้การกล่าวย้ำในการสรุปมีน้ำหนักและมีความกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น  ผู้เขียนควรนำพลความบางอย่างมาประกอบการสรุปได้บ้างตามความเหมาะสม  เช่น   ตัวอย่างเหตุการณ์คำกล่าวคำสรุปของบุคคลสำคัญ  สุภาษิต  สถิติหรือตัวเลข  คำถามหรือปมปริศนาที่ท้าทาย  เป็นต้น   การที่นำสิ่งเหล่านี้มาช่วยในการเน้นสรุปนั้น  ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงสัมพันธภาพทางเหตุผลและใจความของการสรุป  และสิ่งที่นำมาช่วยสรุปเป็นสำคัญ  สิ่งเหล่านั้นจึงจะช่วยเกื้อกูลการสรุปได้ดี

นอกจากนี้แล้วการเขียนสรุปต้องฝากความประทับใจหรือให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน  ซึ่งอาจทำได้ด้วยการยกคำคม  สุภาษิต   คำกล่าวหรือบทกวีที่ไพเราะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ข้อสำคัญคือ  คำลงท้ายของเรียงความมิใช่การสรุปเรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนำมากล่าวซ้ำอีก  การเขียนคำลงท้ายควรใช้ภาษาสั้น ๆ  กระชับน่าอ่าน  ทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจและหรือเกิดความศรัทธาในความคิดของผู้เขียนโดยการเขียนอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  ระบุใจความที่เด่น ๆ  ฝากข้อคิดเห็นหรือปริศนาที่ท้าทาย  สุภาษิต  คำพังเพย  บทกวีที่ไพเราะ  อย่างใดอย่างหนึ่ง   แต่ที่สำคัญไม่ควรที่จะเยิ่นย่อยืดยาวจนเกินไป   พึงตระหนักอยู่เสมอว่าการเขียนสรุปไม่ใช่เป็นการสรุปเรื่องที่เขียนมาทั้งหมด     ดังนั้นส่วนนี้จึงไม่ควรเขียนคำว่า  สรุปรวมความว่า

 จะเห็นได้ว่าการเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีขั้นตอนหลายอย่าง  เพราะเป็นผลรวมของการฟัง การพูด การอ่านและการคิด  ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนบ่อย ๆ จึงจะเกิดผลดี

อีกทั้งผู้ที่จะเขียนเรียงความได้ดีนั้นจะต้องรู้จักศึกษา ค้นคว้า หาประสบการณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานในด้านของความรู้  ความคิด   ที่จะนำมาถ่ายทอดเป็นงานเขียน  ประดุจดั่งเป็น พรแสวง ที่มาลบล้าง

คำกล่าวที่ว่า  ทักษะการเขียนเป็น พรสวรรค์ ของแต่ละบุคคล.

 

 

-------------------------------------------

                                                                                                

บรรณานุกรม

 

เกหลง      พานิช.(2514). จะสอนเรียงความอย่างไร. จุลสารภาษาไทย เล่มที่ 6 กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์

                           คุรุสภา.

เจือ      สะตะเวทิน.  (2514).  วิธีสอนเรียงความแบบพัฒนา.  ประชาศึกษา  ฉบับวันที่  11   มิถุนายน

..    2514.

ชัยนันท์   นันทพันธ์.  (2526).  ศิลปการเขียนเรียงความและรวมเรียงความพระราชทาน.  กรุงเทพฯ :

ประกายพรึก.ไทยวัฒนาพานิช.

ประสิทธิ์   กาพย์กลอน.  (2518).  การเขียนภาคปฏิบัติ.  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

เปลื้อง    นคร. (2512).  คำบรรยายวิชาการประพันธ์ และหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช .

พันธุ์ทิพา   หลาบเลิศบุญ.  (2536).  การสอนเขียนเรียงความ.  กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต   อัคนิจ.  (2525).  หลักเบื้องต้นของการเขียนเรียงความ.  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำเร็จ   วรรณกิจ,  หลวง.  (2501).  แนะเรียงความ.  กรุงเทพมหานคร  :  ส่งเสริมวิทยา.




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

มรดกของพ่อ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : hostesscompany/moretonbay ปทูฒธานี กฎหมายชลบุรี พริ๊ตตี้สปา หางาน ธุรการ รังสิต ดีเทลยา กรุงเทพเเละปริมณฑล warehouse amata งานประจำ วุฒิป.ตรี ไำิ แนืะำืะ โรงแรม พัทยาใต้ บริษัทพีจี จรัญ41 Super spo วุฒิ ม.3จังหวัดราชบุรี หางานวุฒิม.6หญิงแถวพระราม 2 2556 งานรับเหมาสี+ปะปา ธนาคาร การเงิน งานกฎหมาย พัทยา งานโรงงาน ผลิต คลังสินค้าสำเร็จรูป ตะวันนาบางกะปิ บางกร วย สมัคงานวุฒิปริญญาตรี กฏหมาย เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ชลบุรี ปริญญาตรี ราชการ เจ้าหน้าที่ธุรการพระราม9 HRชลบุรี tops fac บริการวุฒิ ม.6 มหาสารคาม งานราม2 sfree นักศึกษาฝึกงาน web เขียนแบบ วิศวกร QC QA พนักงานขับรถ ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝึกหัด นครปฐม วุติปริญญาตรี ธุรการ บ.การบินไทย คลังสินค้า วุฒิม.3 landscape, sketchup หางานจังหวัด นนทบุรี Dream work เจ้าหน้าที่[688] support pc ปริญญาโท นครปฐม ปวช . ครูสมุทรปราการเขต2 หัวหน้าฝ่ายขาย ภาคใต้ งาน รปภ