หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับจิตวิทยาองค์การ
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 14 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




จิตวิทยาองค์การ (organizational psychology)

เป็นศาสตร์ที่ศึกษาทางจิตวิทยาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน
ในการนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับในบริบทของการทำงาน
ซึ่งยังผลให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทย
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน
ที่จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพและผลิตภาพ

อาชีพของนักจิตวิทยาองค์การ

1. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์การ
2. ทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
3. เป็นที่ปรึกษาการบริหารองค์การ
4. เป็นนักฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์ และพฤติกรรมศาสตร์
5. ทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาองค์การ เช่น นักการตลาด
นักออกแบบและการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักบริหารในองค์การต่าง ๆ

จบแล้วทำงานอะไร?

1. ผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์หรือผู้บริหารทั่วไป
2. ที่ปรึกษาองค์การทางจิตวิทยาองค์การ
3. ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
4. นักวิจัยทางจิตวิทยาองค์การ


จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (industrial and organizational psychology)

คือศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ (Muchinsky, 1993) และประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริงและหลักการทางจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของมนุษย์ภายในองค์การ (Blum & Naylor, 1968) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งมีอดีตอันสั้น แต่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
(a short past but a long history) ในสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเกิดขึ้นในราวต้นศตวรรษที่ 20 เพราะฉะนั้นจนถึงบัดนี้ก็นับเป็นเวลาร่วมหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่หากสืบย้อนกลับไปในอดีต ก็จะพบว่าแท้ที่จริงแล้วการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร (โดยเฉพาะผู้ที่เหมาะสมจะเป็นทหาร) ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยคริสตกาลแล้ว (Stagner, 1982)

สำหรับประเทศไทย จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การยิ่งมีอดีตที่สั้นมาก (แม้ว่าอาจจะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานก็ตาม) การเรียนการสอนในสาขานี้ อาจจะกล่าได้ว่าเพิ่งกำเนิดขึ้นมาไม่เกิน 30 ปีที่แล้วมา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานแรกที่ได้เริ่มผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยา อุตสาหกรรมเมื่อปี พ.ศ.2509 โดยในระยะเริ่มต้นได้ใช้ชื่อว่าจิตวิทยาบริการ (service psychology) เมื่อเวลาผ่านไปเกือบสามสิบปี
วิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การก็ได้เติบโตแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันนี้ มีสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือจิตวิทยาองค์การในระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 4 แห่ง และมีสถาบันที่ผลิตมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง (ธรรมศาสตร์,เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่) หากจะนับอย่างคร่าวๆ ประเทศไทยมีบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและโท สาขานี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน (เฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งเดียว มีประมาณ 500 คน)อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเรียนการสอนและการวิจัยทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมานานหลายสิบปี และมีบัณฑิตสาขานี้ในจำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังคงมีปัญหาท้าทายที่รอคำตอบอยู่อีกหลายประการ กล่าวคือ

ประการแรก
อาจจะกล่าวได้ว่าผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่าจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? ประโยคแรกที่บุคคลในวงการเหล่านี้มักจะถามก็คือ “อ๋อ ทำงานเกี่ยวกับโรงงาน อุตสาหกรรมหรือ?”

ประการที่สอง
บัณฑิตรวมทั้งอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชานี้ มีความสำนึกมากน้อยเพียงไรว่า ตนเองคือ ผู้มีวิชาชีพ
ด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เหมือนดังผู้ที่เรียนจบและทำงานด้านจิตวิทยา คลินิก หรือจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ในทัศนะของผู้เขียนคงจะมีบัณฑิตและอาจารย์น้อยคนมากที่จะพูดว่า
ตนเองคือนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
สาเหตุของปัญหานี้จะได้กล่าวถึงต่อไปในตอนหน้า

และ ประการสุดท้าย
อนาคตของวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในบริบทของสังคมไทยควรจะเป็นเช่นไร ทั้งในด้านการเรียน การสอน การวิจัย และการประกอบอาชีพ ปัญหาประการสุดท้ายนี้ นับว่าเป็นปัญหาที่น่าสนใจควรแก่การอภิปรายและหาข้อสรุปมากที่สุด เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงถึงความก้าวหน้าและความตกต่ำของสาขาวิชาโดยตรง อีกทั้งยังเกี่ยวโยงถึบทความนี้จึงมีจุดประสงค์สำคัญสองประการคือ

ประการแรก
มุ่งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน
และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย
และประการที่สอง
เพื่อ “จุดประกาย” ให้มีการอภิปรายถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการและอาจารย์ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้แก่วงการจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การของไทย สำหรับการนำเสนอสาระ ในส่วนแรกบทความนี้จะกล่าวถึงเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และในส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย

เป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะไม่มีความสมบูรณ์และได้ทิศทาง หากขาดการทบทวนและพิจารณาเกี่ยวกับเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตในสาขานี้เพราะเป้าหมายคือสิ่งที่มุ่งหวังจะให้ปรากฏเป็นจริงในอนาคตหรือผลลัพธ์ (end results) ส่วนการเรียน การสอน และการวิจัยคือ วิธีการ (means) ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ปรารถนานั้นโดยทั่วไปแล้ว ปรัชญาและเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา มักจะอยู่ในทำนองที่ว่า “เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม” ซึ่งหมายถึงว่า บัณฑิตเหล่านั้นควรจะมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะที่ดีและเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
ปัญหาก็คือ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะเหล่านั้นคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร?
และจะเสริมสร้างพัฒนาได้อย่างไร? สำหรับความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์
ของบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สามารถกำหนดได้โดยการพิจารณาจากปัจจัยสองประการดังต่อไปนี้คือ
ประการแรก งานและภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในฐานะนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
และ ประการที่สอง ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทยในอนาคต ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้

งานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
ในสหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ และสาธารณชน ในฐานะที่เป็นนักวิชาชีพ (professional) ที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมในทุกๆ ด้านในองค์การธุรกิจหรือหน่วยงานของรัฐจะมีตำแหน่งงานนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กาโดยเฉพาะ ทั้งนี้อันเนื่องมาจากกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างงานของสหรัฐอเมริกา (เช่น the 1964 Civil Right Act, Title VII และฉบับแก้ไขปรับปรุงปี 1991) ได้ห้ามมิให้นายจ้างกีดกันผู้สมัครงาน/ผู้ทำงาน โดยการปฏิเสธการจ้างงานหรือการเลื่อนตำแหน่งอันเนื่องมาจากสีผิว เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฯลฯ ดังนั้น นายจ้างจึงมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ (burden of proof) ความเหมาะสมของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินบุคคล ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่นี้ได้ก็คือ นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การนอกจากนี้แล้ว นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ยังได้รับความยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเหมาะสมที่จะทำงานด้านอื่นๆ อีกหลายด้านให้แก่องค์การ

ซึ่งอาจสรุปงานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้ดังต่อไปนี้ (Division of Industrial and Organizational Psychology, 1988)

1. การคัดเลือกและการจัดวางบุคลากร (personnel selection and placement)
1.1 การพัฒนาโครงการสำหรับการคัดเลือกบุคลากร
1.2 การจัดวางบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเหมาะสมที่สุด
1.3 การสำรวจระบุศักยภาพเชิงการจัดการของบุคลากร

2. การพัฒนาองค์การ (organizational development)
2.1 การวิเคราะห์โครงสร้างองค์การ
2.2 การเพิ่มระดับความพึงพอใจและประสิทธิภาพของบุคคลและหน่วยการทำงานให้ถึงระดับสูงสุด
2.3 การช่วยเหลือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์การ

3. การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development)
3.1 การระบุความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมและการพัฒนา
3.2 การพัฒนาและการจัดโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคนิค ด้านการจัดการและด้านการบังคับบัญชา
3.3 การประเมินผลประสิทธิภาพของโครงการฝึกอบรมและพัฒนา โดยใช้เกณฑ์ด้านผลิตภาพ (productivity) และความพึงพอใจ

4. การวิจัยด้านบุคลากร (personnel research)
4.1 การพัฒนาเครื่องมือทดสอบสำหรับการคัดเลือก การจัดวาง การจำแนก และการเลื่อนตำแหน่งของบุคลากร
4.2 การทดสอบความตรงของเครื่องมือต่างๆ
4.3 การวิเคราะห์งาน

5. การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน (quality of work lifedevelopment)
5.1 การเพิ่มพูนผลผลิตของพนักงานแต่ละบุคคล
5.2 การตรวจระบุปัจจัยซึ่งมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน
5.3 การออกแบบงานใหม่เพื่อให้เป็นงานที่มีความหมายต่อบุคคลมากขึ้น

6. จิตวิทยาผู้บริโภค (consumer psychology)
6.1 ประเมินความชอบ-ไม่ชอบของผู้บริโภค
6.2 การสำรวจปฏิกิริยาของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าชนิดใหม่
6.3 การพัฒนากลยุทธ์การตลาด

7. จิตวิทยาวิศวกรรม (engineering psychology)
7.1 การออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงาน
7.2 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานในการทำงานกับเครื่องจักรของบุคลากร
7.3 การพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบ





ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

คุณเป็นผู้นำแบบไหน
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : esplanade hem c วุฒิป.6 จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ธุรการสะพานใหม่ วิทยุกระจ่ายเสียง ธ ชลบุรี ญฟพะ รทำ fo. manager พัทยา บิ๊กซี สมัครงาน แม่บ้านเขตมีนบุรี ไบเทค 400 แม่บ้านประจำธนาคาร สมัครงานวุฒิ ม.6 นครราชสีมา งานโลตัสพระราม2 นักแปล ชลบุรี ธุรการด่วนมาก เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพQA/QC งานการพยาบาล มาบตาตาพุทธ ปวส.บางกะปิ สยาม สมุทรปราการ ธุรการ , ประสานงาน ร.ร. เทศบาล1 เลขานุการประสานงาน เจ้าหน้าที่จัดส่ง กระเป๋า vn พี่เลี้ยงเด็กหัวหิน บางนา บางพลี สุขุมวิท งานแม่บ้านโคราช ราชาเทวะ ตัดขนสุนัข กรมแรงงานจัดหางาน พนักงานธุรการ ลพบุรี กุ๊กครัวเย็น จ.ภูเก็ต ช่างกลึง/มิลลิ่ง โลตัสศรีสะเกษ สมัครงานpcประจำ ต่างประเทศพยาบาล บริษัทริเก้น พัฒนาการ25 หัวหน้าไร่ ผู้แ ายยา นข ท ธุรการคลังสินค้า วุฒิปวส ธุรการสมุทรปราการ ช่างแม่พิมพลาสสติก ผู้จัดการที่วไป modern trade หางานงานกลางคืน เงินดี