หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ด็อกเตอร์ นักดนตรี ผู้หญิง ไทยแลนด์
เขียนโดย นายศุภชัย รัววิชา

Rated: vote
by 136 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




" ดร.กะทิ"
บางครั้งในชีวิตของคนทุกคนก็ไม่สามารถเลือกทำในสิ่งที่ตนเองชอบได้เพราะมีความจำเป็นหลายสาเหตุและยิ่งการเดินทางบนถนนดนตรียิ่งเป็นเรื่องยากที่หลายๆคนมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคงโดยเฉพาะ " ผู้หญิง " และครั้งนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับผู้หญิงคน หนึ่ง เธอเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ Grammy Awards และที่สำคัญเธอเป็น คนไทย และแม้เธอจะจบการศึกษาระดับ Doctor of Law และทำงานไม่เกี่ยวกับดนตรีเลย แต่เธอก็ยังรักในเสียงเพลงและไม่ทิ้งมัน หลายๆ คนในวงการดนตรีเรียกเธอว่า " ดร.กะทิ " ซึ่งชื่อนี้เธอได้มาจากชาว 89 FM Pirate Radio ตั้งให้ตอนเธอกลับมากรุงเทพฯ ปี 1996 ชีวิตของเธอกว่าจะถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย และครั้งนี้เธอจะให้เกียรติมาเล่าประสบการณ์และแง่คิดให้เราฟัง


" เริ่มต้นพี่ไปเรียนที่อังกฤษ อยู่โรงเรียนประจำก็เริ่มมีครูสอนกีต้าร์ folk song แล้วก็มี classmate คนหนึ่งมาจาก Brazil นั่นเป็นครั้งแรกที่พี่ได้ชิมรสชาติเพลง " Bossa Nova " เธอเล่าว่าตอนนั้นเธอยังไม่รู้ทฤษฎีดนตรี แถมยังจับคอร์ดกีต้าร์ก็ไม่เป็น แต่เธอบอกกับเราว่าเธอโชคดีมากเพราะช่วงนั้นเป็นยุค 60's ที่อังกฤษเป็นยุคที่ดนตรีเข้มข้นที่สุด ยุคของ The Beatles, Led Zeppelin, Rolling Stones etc.


"หลังจากที่ได้ฟังเพลง Bossa Nova เป็นครั้งแรก ก็มีเด็กอเมริกันผู้หญิง 2 คน ซึ่งมาเรียนต่อที่โรงเรียนที่พี่เรียนอยู่เล่นเพลงของ James Taylor ตอนนั้นคนอังกฤษยังไม่รู้จัก James Taylor เลย แล้วก็ฝีมือกีต้าร์ของ James Taylor ไม่ธรรมดาเลย หลังจากนั้นพี่ก็เล่นกีต้าร์ folk song แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไร เล่นเป็นงานอดิเรก แต่ความที่พี่เรียนกีต้าร์ได้เร็วมาก คือ พอจับกีต้าร์ก็คลั่งเลย แล้วซ้อมหนักมากเลย ตอนนั้นอายุแค่ 12-13 จากนั้นเธอได้มีโอกาสเล่นตามงานการกุศล และเริ่มเล่น Concert ตามงานที่อังกฤษเกือบทุกอาทิตย์ นี่คือจุดเริ่มต้นของเธอ

ต่อมาทางบ้านได้ส่งเธอไปเรียนทางด้าน Interior Design ที่อเมริกา แต่ในใจเธอก็ยังรักดนตรีอยู่ และเมื่อเธอเรียนจบ เธอจึงตัดสินใจไปเรียนกีต้าร์อย่างจริงจัง ที่ Boston " พี่ได้ยินชื่อโรงเรียน Berklee College of Music ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวในยุคนั้นที่ไม่สอนดนตรี Classic เพราะถ้าเราจะเรียนกีต้าร์ Classical มันก็ไม่ใช่ตัวเรา " จากนั้นเธอก็ได้สอบเข้า Berklee แต่ก่อนที่เธอจะสอบเข้านั้นเธอบอกว่า " ที่นี่ไม่มีกฎเกณฑ์มากนักใครๆ ก็เข้าได้ ไม่รู้อะไรเลยก็เข้าได้ พี่เนี้ยะเป็นตัวอย่าง อ่านโน๊ตก็ไม่ออก เล่นก็ไม่ค่อยเป็น กีต้าร์ก็ไม่มี วันแรกที่เข้าเรียนก็มีแค่กีต้าร์ Classic สายเอ็น แต่มีรุ่นพี่คนหนึ่งเขาปี 4 แล้ว ชื่อ อ. โป๊ป พาพี่ไปซื้อกีต้าร์ไฟฟ้าเพื่อเอามาใช้เรียนที่ Berklee นั้นคือ Gibson ES 175 แกก็ช่างเลือกนะ เพราะเหมาะกับพี่มากมันเป็นกีต้าร์คอเล็ก ตัวก็ไม่ใหญ่มากและมี Cut Away นี่คือกีต้าร์ไฟฟ้าตัวแรกของพี่ และคือจุดเริ่มของพี่ทุกอย่างเริ่มจากศูนย์ "


ที่ Berklee ในยุคนั้นเป็นยุคที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนกีต้าร์ Jazz เพราะมีครูดีๆหลายคนและนักดนตรีรุ่นพี่รุ่นน้องที่จบออกมาก็เป็นนักดนตรีระดับโลกทั้งนั้น และการที่เธอได้เริ่มเล่น Jazz ก็เพราะกลุ่มเพื่อนๆที่นั้น คือพวกเขาฟังอะไรก็ฟังตามเขา ก็เริ่มขอยืมแผ่นเสียงจากเพื่อนมาฟัง พอเริ่มรู้จักใครมากขึ้นก็เริ่มรู้จักนักดนตรีที่มาทำงานด้วย ยุคนั้นคือยุค ECM Records ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่ไม่ธรรมดาเลย การเริ่มฟัง Jazz ของเธอไม่ได้เริ่มจากการฟัง Bebop แต่เริ่มจากยุค ECM เช่น Gary Burton , Ralph Towner เป็นต้น


เธอได้เล่าถึงจุดสำคัญของชีวิตเธอว่า " จุดสำคัญที่สุดของพี่เรื่องแรกคือเพื่อนฝูง ยุคนั้นเพื่อนสนิทก็มี Jaco Pastorius , John Scofield ,Bill Frisell , Mike และ Leni Stern และก็อีกหลายๆคน และอีกอย่างคีอพี่ได้เรียนกับมือกีต้าร์สุดยอดแห่งยุคเช่น Pat Metheny, Mick Goodrick และยังได้เรียนคอร์สสำคัญๆที่นั้นที่บางวิชาอาจจะเรียกว่าถ้าไม่ได้เรียนก็เหมือนว่าไม่ได้มาที่Berklee เลยทีเดียว เช่น คอร์สของ Herb Pomeroy ( "Line & Writing" , "Writing in the style of Duke Ellington เป็นต้น " ) วิธีการซ้อมกีต้าร์ของเธอก็คือ " ต้องขยันมากๆหรือต้องอยู่กับมันเลยก็ว่าได้ และซ้อมตามที่เรียนมา " อีกสิ่งหนึ่งที่เธอเน้นมากๆตลอดเวลาก็คือ " อย่าบ้าทฤษฎี แต่ให้ใช้หูเล่น และเล่นให้เพราะไว้ก่อน"


หลังจากที่เธอเรียนจบที่ Berklee เธอบอกกับเราว่า " ทุกสิ่งทุกอย่างมันคือ ชีวิตที่ไม่จริงเลย " สิ่งที่เธอพูดถึงก็คือ การที่ได้เรียนดนตรีมาซ้อมมาอย่างหนักแต่ไม่ได้เล่นอาชีพเลยซักครั้งนอกจากจะเล่นกับเพื่อนๆหรือได้เล่นกับครูเท่านั้นเอง เธอก็ได้นั่งคิดและผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ เธอคิดว่ามันไม่มีอนาคตแน่ๆ เพราะเพื่อนแต่ละคนที่จบมาก็ฝีมือระดับโลก แล้วฝีมืออย่างเราจะไปแข่งกับเขาได้หรือ? และนี่คือสิ่งที่เธอเน้นกับเราโดยใช้ตัวอย่างจากเธอ " เพราะเมื่อตอนที่เธอจบมาเธอไม่รู้อะไรเลยนอกจากทฤษฎี " ดังนั้นเมื่อได้รับปริญญามาเธอไม่สามารถทำอะไรได้เลยและเธอยังบอกอีกว่า " วันที่แท้จริงของชีวิตนักดนตรี อาจจะเป็นวันที่คุณจะเรียนจบหรือไม่จบไม่รู้แต่วันนั้นคือวันที่คุณต้องได้เล่นดนตรีสดนั้นเอง " ทุกสิ่งทุกอย่างคือภาคปฎิบัติโดยเฉพาะเรื่องของศิลปะ


ชีวิตของเธอเมื่อเรียนจบจาก Berklee ก็ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับดนตรีเลยหรือแม้แต่กีต้าร์เธอก็ไม่ได้จับเลยนานถึง 15 ปี ชีวิตของเธอหันเหไปทำงานกับบริษัท Night Spot ในรุ่นแรกๆ พอทำซักพักเธอก็เริ่มเบื่อก็เลยอยากหางานอย่างอื่นทำและอยากหาประสบการณ์เพิ่มเติมในวงการบันเทิง ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจไป L.A เพราะที่นั้นคือ สถานที่ที่ท้าทายและให้ประสบการณ์มากที่สุด เธอเริ่มจากการทำงานที่ธนาคาร ต่อด้วยบริษัทหนัง Indy และ TV Productionโดยทำงานเป็นผู้ช่วยทนายความคอยดูแลทางด้านสัญญา แต่พอทำไประยะหนึ่งก็เริ่มอิ่มตัว และประจวบกับที่ L.A เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงครั้งใหญ่ ในปี 1994 เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เธอคิดว่า ชีวิตคนเราช่างสั้น ทำไมเราไม่หาทำอะไรที่ตัวเองชอบและมีความสุข ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจกลับมาเมืองไทย แต่ก่อนกลับได้เริ่มจับกีต้าร์ขึ้นมาซ้อมอีกครั้งและเรียน Private lesson กับ JOE DIORIO ที่ M.I. (Musician's Institute), Hollywood. เพื่อจะยึดเป็นอาชีพ


หลังจากเธอกลับมาเมืองไทยและยึดอาชีพนักดนตรี เธอกล่าวว่า อุปสรรคที่ได้เจอกับนักดนตรีไทยเยอะมาก คือ นักดนตรีไทยมีอีโก้สูง บ้างก็เล่นก็ไม่ได้อ่านโน๊ตก็ไม่ออกแต่อาศัยว่าอายุมากกว่า เหมือนว่าใช้ระบบอาวุโสเข้ามาข่ม และสิ่งที่ทำให้นักดนตรีไทยไม่สามารถไปถึงอินเตอร์ได้หรือไม่ได้เล่นกับนักดนตรีเก่งๆจากเมืองนอกได้ก็เพราะ " ไม่มีความอดทน ชอบเอาสบายไว้ก่อน เวลาเมามีให้ตลอดเวลาแต่เวลาซ้อมกลับไม่มี " เธอกล่าว


" ทุกครั้งที่ไปเล่นกับนักดนตรีคนอื่นๆจะโดนดูถูกอย่างมาก แต่พี่ก็จะสู้ เพราะพี่หน้าหนาและก็ต้องอดทนอย่างมาก และอาจเพราะพี่จบปริญญาเอก จึงทำให้คนอื่นดูถูกพี่น้อยลง ทุกครั้งที่พี่หิ้วกระเป๋าพร้อมโน๊ตเพลงที่พี่นำมาเรียบเรียงใหม่ ไปให้นักดนตรีJazz ตามร้านเล่นกัน ก็ไม่มีใครเล่นได้ " และนี่คือสิ่งที่เธอคอยเน้นกับเราอีกอย่างก็คือ " นักดนตรีต้องอ่านโน๊ตได้ เพราะนักดนตรีต้อง Jam ถ้าเราไปเจอเพลงที่เราไม่คุ้นแต่มีโน๊ตให้แต่กลับอ่านไม่ได้ มันก็ไม่มีความหมายใดๆทั้งสิ้น "


เธอยังให้แง่คิดเกี่ยวกับอาชีพทางนักดนตรีระหว่างคำว่า " ครู กับ อาจารย์ " ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร " ศิลปะ …. ถ้าเราจะเป็นศิลปินเราจะเป็นครู แต่ ถ้า… เราเป็นนักวิชาการเราจะเป็นอาจารย์ "
เพราะฉะนั้น ศิลปิน คือ ภาคปฏิบัติ อาจารย์ คือ ภาคทฤษฎี และถ้าเราเลือกที่จะเป็นศิลปินแล้ว " You have to be on stage " เพราะฟีตแบคจากการเล่นคือหัวใจของเราเลย และถ้าหากว่าเราอยากจะให้ทุกคนนับถือจุดแรกตัวเราเองจะต้องเป็นศิลปินก่อน แล้วคนก็จะค่อยๆปลาบปลื้มเราที่ละคนๆ แล้วเขาก็จะศรัทธาในตัวเรา แต่ของพวกนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก และท้ายที่สุดคือเงินทอง และชื่อเสียง ทั้งหมดจะตามมาหาเราเอง


หลังจากนั้นเราก็ย้อนถามเกี่ยวกับการก่อตั้งวง ka-Ti Brazilian Jazz Band ว่ามีที่มาอย่างไร เราก็ได้คำตอบว่า ในช่วงแรกมีเพียง 2คน ก็คือเธอกับมือกีต้าร์อีกคนหนึ่ง ก็เริ่มจากการเล่นตามงานบ้างครั้งก็ได้ค่าตอบแทน บ้างครั้งก็ฟรี แล้วก็ค่อยๆเล่นไปเรื่อยๆ จากวงเล็กๆก็เริ่มมีคนโน้นคนนี้เข้ามาเล่น ก็เริ่มมีคนจ้างเล่นโดยมีค่าตอบแทน ทั้งหมดก็ค่อยๆขึ้นมาทีละก้าว ปัจจุบันก็ก่อตั้งมา 4ปีได้แล้ว ทุกอย่างก็เริ่มลงตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นอย่างที่เห็นในตอนนี้


ปัจจุบัน ka-Ti Brazilian Jazz Band เล่นประจำที่โรงแรม Marriott Resort & Spaและมี concert เฉพาะกลุ่มบ้างครั้ง และอีกไม่นานพี่กะทิก็กำลังจะไปศึกษาต่อทางด้านดนตรีและกำลังจะมีconcert ก่อนจะไปเร็วๆนี้
ที่ Emporium Music Festival, เสาร์ที่ 18 มกราคม 2546


อุปกรณ์ที่พี่กะทิใช้
Gibson รุ่น Chet Atkins
George Benson GB 10
Takamine (Custom Made) NP - 65C

หากอยากพูดคุยกับพี่กะทิติดต่อได้ที่ : [email protected] หรือ
www.katijazz.com

 

บทความนี้ จาก http://www.guitarthai.com/interview/interviewdetail.asp?paraID=47




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

วิธีการรักษาลูกค้าปัจจุบันให้อยู่กับเราตลอดไป
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ธุรการข วุฒิ ม.3จ.ลพบุรี adecgo สมัครงานไฟฟ้าภาคใต้ messenger วุฒ ปวช วิศวกี 1 8 บัญชี คันนายาว โรงงานเขตนิคมนวนคร french ฝรั่งเศส เสมียน ดินแดง รับสมัครนักจัดรายการวิทยุ เขตกม.19 แลปโรงเเรม กทม+ม.3 วงเวียนใหญ่ พนักงานธุรการสวนหลวง ช่างแกะแว๊ก 7-11 รามคำแหง ลาดดรับัง เจ้าหน้าที่รับประกัน ลาดพร้าว คลังสินค้า จีพีวี งานสรรหาเขตตลิ่งชัน แพ็คกิ้ง แถวสายไหม บางเขน บางพระชลบุรี photo maker งานสถานทูต สีลมจิวรี่ oywyywpo ครูวิชาการ นายณัฐฑล ลีมุน บัญชี/กานเงิน พนักงานเติมก๊าซ วิศวกร garment จี.เจ. โรงงานในกรุงเทพมหานคร Salus per Crystal rp7725y 2216 บดินเดชา ห้นยยำพ เก็บตั๋วรถทั่วไป พนักงานขับรถตู้ผู้บริหาร ทุกตำแหน่ง ชลบุรี ไชยมงคล หากุ๊กในโรงแรม งาน ญี่ปุ่น สมัคงานช่างติดตั้งจานทรู กุ๊ก เกาะยาว โลตัสเชียงใหม่