หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง เรียนรู้และเข้าใจการทำงานของระบบ Network และ Internet
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 219 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




เรียนรู้และเข้าใจการทำงานของระบบ Network และ Internet
 
 
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายเฉพาะที่  (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN
จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น

2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น  ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น

3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ  โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว  ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต
ก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

 โครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology) หมายถึง รูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย  รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย  โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลัก 4 แบบ  คือ
1. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล  ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

Bus
2. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง
ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้
ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
Star
3. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน  การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป  ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่
จากเครื่องต้นทาง
Ring
 
ประโยชน์ของการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์มากมายหลายประการ เช่น

1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย  การแลกเปลี่ยนข้อมูลในที่นี้ หมายถึงการที่ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถที่จะดึงข้อมูล
จากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกเหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง

2. ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้  เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้นถือเป็นทรัพยากรส่วนกลาง ที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคนสามารถใช้ได้ โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น ๆ

3. ใช้โปรแกรมร่วมกันได้   ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะใช้โปรแกรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรมทุกชุดสำหรับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนอกจากนั้นยังประหยัดพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์
ในการเก็บไฟล์โปรแกรมของแต่ละเครื่องด้วย

4. ติดต่อสื่อสารได้สะดวก และรวดเร็ว  เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันก็ตาม

 

อินเทอร์เน็ต INTERNET

Internet

        ในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การทำธุรกิจการค้า หรือแม้กระทั่งทำงานอยู่ที่บ้าน ผู้คนส่วนใหญ่มี
ความจำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กร  สถาบันการศึกษา  สถานบริการต่างๆ ตลอดจนบริษัทห้างร้าน จะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  เราจะพบว่าชื่อของเว็บไซต์ต่างๆจะปรากฏให้เห็น จนชินตาตามสื่อต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร และตามสื่อโฆษณามากมาย อินเทอร์เน็ตได้
กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ แม้กระทั่งกลายเป็นสื่อที่จำเป็นของภาครัฐในการ
ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ออกไปสู่สังคมภายนอกให้ได้รับทราบ นี่คือสภาพแห่งความเป็นจริงของสังคมโลก ที่เราไม่สามารถจะปฏิเสธได้
        หากจะกล่าวถึงอินเทอร์เน็ต ก็คงจะต้องกล่าวถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ควบคู่กันไป ด้วยเหตุที่
่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะรวมเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านทางระบบการสื่อสาร (communications) เช่น ทางสายเคเบิล   สายโทรศัพท์   โมเด็ม และ ดาวเทียม เป็นต้น
        เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก เราเรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (internet) ซึ่งจะรวมเอาเครือข่ายต่างๆ จำนวนมหาศาล ที่มีอยู่ทั่วโลกมาเชื่อมต่อ (links) เข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยแต่ละเครือข่ายจะจัดกลุ่มของข้อมูลกันเองเพื่อสะดวกต่อการ
ที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
        ระบบเครือข่ายจำนวนมากรวมเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักนิยมเรียนสั้นๆ ว่า "เน็ต" (Net) อินเทอร์เน็ตเป็น
สื่อสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิบริโภคอย่างเท่าเทียมกันไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ โดยแต่ละองค์กรหรือหน่วยงานก็จะรับผิดชอบ
ดูแลในส่วนของตนเองที่เกี่ยวข้อง

        ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ที่เข้ามาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้บริการด้วยเหตุผล และ
ความต้องการที่ต่างๆ กัน ซึ่งพอที่จะสรุปเป็นข้อๆ ได้ คือ

  • เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล  ข่าวสาร  งานวิจัย และ เพื่อการศึกษา
  • เพื่อจัดการเกี่ยวกับธุรกิจ  การเงิน  การซื้อขายสินค้า
  • เพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว
  • เพื่อหาซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ
  • เพื่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น
  • เพื่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • รับส่งจดหมาย เอกสาร ข้อความ


    บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น

  • เวิลด์ ไวด์ เว็บ WWW
  • อิเล็กทรอนิกส์เมล (e-mail)
  • FTP
  • Telnet
  • Newsgroups
  • Mailing lists
  • Chat Rooms


    ผู้ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers)

  •         ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศ ซึ่ง
    จะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ Internet Service Proviceders (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน  สำนักงาน  สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้  ผู้ให้บริการ (ISP) ในประเทศ มีหลายที่ เช่น KSC  Loxinfo Samart และอีกหลายๆ แห่งที่เปิดให้บริการ

          การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต (Connecting to the internet)

            ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคน อาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน  บริษัท หรือ
    สถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงาน หรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อ
    ผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะ
    จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็๋กน้อย

    ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา
    อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยสายส่ง
    สัญญาณ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์  ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหารโดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา"
    (ARPA : Advanced Research Project Agency)
            ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงาน จากอาร์ปา มาเป็น
    ดาร์พา (Defence Communication Agency)  ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่า
    อาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม  ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET : Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้
    โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocal) เป็นครั้งแรก
            ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง
    และใช้ชื่อว่า  NSFNET  และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone)
    ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
    จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย
    มากมายทั่วโลก

    อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
          อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
    สงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น  ประเทศออสเตรเลีย  แต่ในครั้งนั้น
    ยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เป็นการถาวร  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบัน และ
    มหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    เข้าด้วยกัน เรียกเครือข่ายนี้ว่า "ไทยสาร"
            เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้
    เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก  จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้
    เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
            ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น  การสื่อสารแห่งประเทศไทย
    (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคลผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก โดยตั้งขึ้นใน
    รูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ที่เรียกผู้ให้บริการนั้นว่า ISP (Internet Service Provider)
     

        ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตต่อการศึกษา

            อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสื่อการศึกษาของโลกยุคใหม่ไปแล้วซึ่งสาเหตุของความนิยมในการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก็คือคุณค่าทางการศึกษาของสื่ออินเทอร์เน็ตนั่นเอง จากการสำรวจคุณค่าทางการศึกษา ของกิจกรรมบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิทยาลัยครูแบงค์สตรีท ปี 1993 พบว่ากิจกรรมบนเครือข่าย คอมพิวเตอร์ช่วยเปิดโลกกว้างให้แก่ผู้เรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายมีผลให้ผู้เรียนมีการรับรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และโลกมากขึ้น  ทั้งนี้ เนื่องจากการที่เครือข่ายการศึกษาบนอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร กับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะการปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบทันทีทันใด เช่น บริการ Chat, Talk หรือ การใช้บริการอื่น ๆ เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  บริการ WWW , FTP และอื่น ๆ ให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ข้อมูลสารสนเทศได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นว่าข้อมูลนั้นจะมาจากส่วนใดของโลก
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งรวบรวมขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายมหาศาลในลักษณะที่สื่อประเภทอื่น ไม่สามารถกระทำได้ ผู้เรียนจะมี ความสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลในลักษณะใดก็ได้ เช่น การค้นหาหนังสือ หรืออ่านบทคัดย่อ จากห้องสมุดออนไลน์ การเข้าไปอ่าน หนังสือนิตยสารต่าง ๆ วรรณกรรม  ตำรา วารสาร หรือเอกสารทางวิชาการบนเครือข่าย  ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม จะเป็นโรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนในเมือง หรือโรงเรียนในต่างประเทศ ก็สามารถเข้าไปใช้ เครือข่ายได้อย่างเท่าเทียมกัน  เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบ (high-order thinking skills)  โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์ แบบสืบค้น (inquiry-based analytical skills)  การคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking)  การวิเคราะห์ข้อมูล  การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะธรรมชาติของระบบเครือข่ายจะเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้จะต้องมีการคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ ด้วยเหตุว่าสารสนเทศบนเครือข่ายมีมากมาย ดังนั้นจะต้องคิดวิเคราะห์เพื่อแยกแยะว่าสิ่งใดที่ไร้ประโยชน์และสิ่งใดมีประโยชน์  สนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในลักษณะที่เรียนร่วมกันหรือเรียนต่างห้องกัน หรือแม้กระทั่งต่างสถาบันกัน เพราะลักษณะการเรียนการสอนดังกล่าว จะต้องมีการสืบค้นข้อมูล การสนทนา การอภิปราย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างผู้เรียนเอง
            กิจกรรมบนเครือข่ายเป็นกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเรียนการสอนเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี  นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการ   การเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องและมีความหมายกิจกรรม
    การเรียน การสอนบนเครือข่ายจะช่วยขยายขอบเขตของห้องเรียนออกไปให้กว้างขื้น เพราะผู้เรียนสามารถ ที่จะใช้เครือข่าย ในการสำรวจข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีความสนใจ อีกทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นตัวเชื่อมให้ผู้เรียนเข้าถึง ผู้ให้คำปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง

            ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตเป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลก  ในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของยุคสมัยประกอบด้วย

    1. อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์

    2. อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายแห่งเครือข่าย (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรีโดยไม่มีการปิดกั้น

    3. สามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองสู่สังคมโลกได้ง่าย

    4. การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และแม่นยำ

    5. สามารถแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion Groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างกว้างขวาง และทั่วถึงมากขึ้น

    6. มีเทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้า ไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด

    7. มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น การใช้ Internet Phone,  Voice e-mail, Chat, การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต

    8. อินเทอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในรูปแบบของ "วาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" (Electronic Commerce)

    9. มีรูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งนอกจากจะสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้ว ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยา ให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปเป็นชั้น ๆ  ด้วยคุณสมบัติของ Web Browser ในอินเทอร์เน็ต

         จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้น เป็นโอกาสในการ นำมาใช้ประโยชน์ ทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีสาระสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ดังนี้

    1. เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หรือ เสมือนหนึ่งมี " ห้องสมุดโลก"  (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส  ตัวอย่างเช่น ครูและนักเรียนสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลา (Anywhere & Anytime) คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่อง มาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดีสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน มากยิ่งขึ้น เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืช  ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  ข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ชุมชน ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเด็ก ทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถ
    นำ เนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา และแลกเปลี่ยนภายในวงการซึ่งกันและกัน

    2. พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน  ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวก  รวดเร็ว แม่นยำ และง่ายต่อการใช้ ทำให้เกิดการสื่อสาร เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษาทั้งที่เป็นการสื่อสาร ระหว่างครูกับครู  ครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเองซึ่งในปัจจุบันคณาจารย์จำนวนมากในหลายสถาบัน ทั้งระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการให้การบ้าน  รับการบ้าน และตรวจส่งคืน
    การบ้าน ในขณะเดียวกัน การสื่อสารระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนทั้งในและต่างประเทศ

    3. เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน  การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนจะทำให้บทบาทของครูปรับเปลี่ยนไป จากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น  ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียน
    และค้นคว้า ได้ด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็มีความจำเป็น ที่จะต้องตระหนักว่า บทบาทและรูปแบบที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของครูที่จะต้อง วางแผนการ "ชี้แนะ" ให้รัดกุม เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น  ปรับจากการเรียน
    ตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (learning how to learn) และเป็นการเรียนด้วยความอยากรู้
    (active learning) อย่างมีทิศทาง.


  • อ้างอิง
  • คู่มือการใช้งาน KSC Instrant Internet.
  • ถนอมพร เลาจรัสแสง. (ก.ค.-ธ.ค. 2540). "อินเทอร์เน็ตเครือข่ายเพื่อการศึกษา". วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 2540.
  • ไพรัช ธัชยพงษ์. (2541). รายงานการศึกษาวิจัยประกอบการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ประเด็น "เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"
                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
  • Gray B. Shelly and others. (1999). Discovering Computers 2000. International Thomson Publishing Company.

     
  • TCP/IP ภาษากลางในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

    ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน  ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่อง
    คอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล"
    (Protocol) สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลก
    พร้อมๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

          การทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นไปส่วนย่อยๆ (เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet) และส่ง
    ไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทางและถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์
    อีกครั้งหนึ่ง

                รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วยป้องกัน
    ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลเกิดสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มิใช่
    หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายไปได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียง
    เฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่อีกครั้งได้

    สิ่งที่น่าสนใจ..
    โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่
    ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่  เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นใน
    เครือข่ายแทน

    บรรณานุกรม
    พันจันทร์  ธนวัฒนเสถียร (1989). เข้าใจ Internet โดยใช้ Netscape Communicator 4. กรุงเทพฯ ส.เอเซียเพรส.

    IP address ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์


          เราอาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตว่ารู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้อย่างไร?
    ลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมืองขนาดใหญ่ไห้พบ เราต้องทราบข้อมูล เช่น บ้านเลขที่  ถนน
    ตำบล เป็นต้น ในอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราก็จะต้องการที่อยู่ของ
    เครื่องนั้นๆ บนอินเเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า ไอพี แอดเดรส (IP address)

            IP address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก โดยประกอบด้วย
    ตัวเลข 4 ชุดต่อกัน  โดยมีจุด (.) เป็นสัญญลักษณ์  แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255

    ตัวอย่าง  IP address
    208.49.20.16

            เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน  จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องการจัดสรร IP address
    โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อว่า interNIC (Internet Network Information Center)  สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆไป
    จะได้รับ IP address จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตร (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งได้ทำการขอ IP address
    เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว

    บรรณานุกรม
    พันจันทร์  ธนวัฒนเสถียร (1989). เข้าใจ Internet โดยใช้ Netscape Communicator 4. กรุงเทพฯ ส.เอเซียเพรส.

    อินเทอร์เน็ตแอตเดรส (โดเมนเนม)


            ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก  ดังนั้นเพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าง จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส  หรือ โดเมนเนม มาใช้

       โดเมนเนม คือ การนำตัวอักษรที่จำได้ง่าย  มาใช้แทน IP address อินเทอร์เน็ตแอตเดรสจะไม่ซ้ำกัน
    และเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน  ดังนั้น โดเมนเนมมักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท ขื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของ
    เหล่านี้เป็นต้น

                       208.49.20.16  < --------------->  srithai.com
                                   (IP address)                                                                                          (โดเมนเนม)

    สิ่งที่น่าสนใจ..
    แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม  แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้ IP address จึงต้องมีการแปลงโดเมนเนม กลับไปเป็น IP address
    โดยจะมีการจัดตั้งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ ที่มีชื่อเรียกว่า DNS Serve

    บรรณานุกรม
    พันจันทร์  ธนวัฒนเสถียร (1989). เข้าใจ Internet โดยใช้ Netscape Communicator 4. กรุงเทพฯ ส.เอเซียเพรส.

    โมเดม (Modem)


            ในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นตัวหนึ่งคือ โมเดม (Modem) ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ และเป็นประตูนำเราออกสู่โลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย

          โมเดม แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ internal และ external

            โมเดมแบบ  internal นั้นจะเป็นแผงวงจรง (card) ที่ต้องนำมาเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ส่วนโมเด็มแบบ
    external จะเป็นอุปกรณ์ที่แยกส่วนจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เชื่อมต่อถึงกันโดยผ่านสายส่งข้อมูล
            ข้อดีของโมเด็มแบบ external คือเราสามารถถอดจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
    อีกเครื่องหนึ่งได้อย่างสะดวก  โมเดมแบบ external ยังมีไฟและเสียง แสดงสภาวะการทำงานอีกด้วย แต่ราคาค่อนข้างสูง
    กว่าแบบ internal
            โมเด็มที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน จะมีความเร็วในการสื่อสารอยู่หลายระดับ เช่น 14.4 Kbps  28.8 Kbps
    56.6 Kbps  เป็นต้น  ระดับความเร็วของโมเด็ม 56.6 Kbps หมายถึง สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56,600 ตัวอักษร
    ภายใน 1 วินาที

    Modem

    บรรณานุกรม
    พันจันทร์  ธนวัฒนเสถียร (1989). เข้าใจ Internet โดยใช้ Netscape Communicator 4. กรุงเทพฯ ส.เอเซียเพรส.

    ที่มา : http://spiderclass.hypermart.net/network/




    ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

     

    user_icon

    Knowledge Center
    knowledge center
    knowledge

    star

    อยากรู้ไหมทำไมคนเราถึงอ้วน หรือหิวบ่อย
     
    เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
    • การแพทย์
    • ความรู้ทั่วไป
    • เรื่องของผู้หญิง
    • กีฬา
    • ข่าวและสื่อ

    และอื่น ๆ อีกมาก

      ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
    ระบุ keyword
     
    True vision

    TV Icon

    TV Interview

    หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

    dot
    HR Corner
    สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
    https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
     
    The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
    https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
     
    การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
    คุณมกร พฤฒิโฆสิต
    https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
    dot

    https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

     

    หางานบ่อย : ประเมินราคาง โตโยต้า หัวหิน ขับรถผู้บริหาร-กทม. ตลิ่งชั ประชาสัมพันธื ชลบุรี หางานทำในเชียงใหม่ สมัครช่างกลึง ยาม ชลบุรี วุฒิ ม.6. ทั่วไปพิษณุโลก ขายข้าว ทนายความฃ touch sceen แพลน ชลบุรี ทั่ไป PRร้านนครปฐม แจกกระดาษทิชชู ขับรถผู้บริหาร แถวเสรีไทย สมัครงานนราธิวาส เลขานุการกทม. นวดspa. สุขุมวิท49 8888888 เทคนิคโลหะ ปวส. งานวุฒ ม3 วิศวกรไฟฟ้า ระดับสามัญ บริษัทไทยยิปซั่ม+ ผู้จักการคลัง ธุรการ วงเวียนใหญ่ ร้านยา คลีนิคความงามหาดใหญ่ PR,CALL CENTER บัญชี/การเงินภูเก็ต ชลบุรี polymer ม.6 สมุทรปราการ งาน Call Center เขตบางนา บัญชี, โลตัสวังหิน ประเมินราคาตกแต่งภายใน งานโทรคมนาคม บัญชีธุรการบุคคล วุติ ปวส มิเนเร่ Neus Plus พนักง่านขาย ช่างเทคนิคปิโตเลี่ยม ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี นักเคม่ ตำแหน่งานล่าสุด เขต ทวีวัฒนา วุฒิม6 พระราม7